สวัสดีค่ะ *-* ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ ...ทุกคนนะคะ *-*

อาจารย์ผู้สอนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

...... ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ ..... มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, อ.จอมบึงจ.ราชบุรี .....ป.กศ.สูง วิชาเอกดนตรีศึกษา จาก วค.บ้านสมเด็จพระยาปริญญาตรี กศ.บ.(เกียรตินิยม)มศว.ประสานมิตรปริญญาโท ค.ม.(โสตทัศนศึกษา)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนักศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มเทคโนโลยีทางการศึกษา)มหาวิทยาลัยศิลปากรบล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนนักศึกษา ปีการศึกษา 2550/1

คนหน้าตาทันสมัย


หน้าสวยไร้สิว <== 17 วิธี ผิวสวย ไร้สิว<==


หนุ่มๆ สาวๆ ใครอยากหน้าใส ผิวดี ผมสวย เรามีสูตรเด็ดถึง 17 สูตร ลองไปทำกันดู รับรองว่าเด็ด

สูตรขจัดสิวหัวดำ
นำมะเขือเทศสดมาปั่นรวมกับข้าวโอ๊ตให้เข้ากัน แล้วผสมน้ำผึ้งสักเล็กน้อยนำมาทา บนใบหน้าให้ทั่ว เน้นเป็นพิเศษบริเวณที่มีสิวหัวดำ แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น

มาร์คพอกหน้าสูตรใบเตย
นำใบเตย4-5 ใบมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปปั่นรวมกับไข่ไก่ 2ช้อนโต๊ะจะได้มาร์คพอกหน้าเป็นครีมข้นๆ หอมกลิ่นใบเตย พอกหน้าไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วล้างหน้าตามปกติ

ถนอมผิวหน้าด้วยโยเกิร์ต
ล้างหน้าให้สะอาด ซับเบาๆด้วยผ้าขนหนู แล้วใช้มือแตะโยเกิร์ต(ให้ใช้ชนิดที่ไม่ผสมเนื้อผลไม้) มาพอกให้ทั่วผิวหน้า เว้นรอบปากและดวงตา นวดและคลีงเบาๆ พอกไว้ประมาณ 20 นาที จึงล้างออก หมั่นทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ผิวจะเปล่งปลั่งสดใสอมชมพูทีเดียวค่ะ

ครีมพอกหน้าสำหรับสาวผิวมันและผิวผสม
ให้ใช้แตงกวา1 ผล ไขไก่ 1 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่ขาว) และมะนาว 1 เสี้ยว หั่นแตงกวาเป็นแว่นบางๆ นำไปปั่นพร้อมกับไข่ขาวและบีบน้ำมะนาวลงไป ปั่นจนละเอียดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน นำมาพอกให้ทั่วใบหน้า เว้นรอบปากและดวงตาไว้ ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วจึงล้างหน้าตามปกติ หมั่นทำบ่อยๆ ทุกสัปดาห์ จะช่วยลดความมันส่วนเกิน และยังช่วยสมานผิวหน้า กระชับรูขุมขน ช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียน เต่งตึง และนวลนุ่มชุมชื่น
เพื่อเรียวขาสวย
ก่อนนอน นำมะนาวเปรี้ยวๆสักหนึ่งเสี้ยว บีบลงในดินสอพองพอหมาด ทาให้ทั่วขา ทิ้งไว้สักหนึ่งคืน รุ่งเช้าค่อยล้างออก แม้จะไม่ทำให้ขาเนียนขึ้นทันตาเห็น แต่หากทำเป็นประจำ ยืนยันว่าได้ผลค่ะ
ลบรอยกระด่างดำบนใบหน้าด้วยมะละกอสุก
นำมะละกอสุกมายีให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ สัก 10 นาที แล้วจึงล้างออก จะช่วยให้ ใบหน้าที่มีรอยด่างดำดูดีขึ้น

สูตรรักษาฝ้า
คั้นน้ำมะขามเปียก ให้ค่อนข้างใสสักหน่อย ตั้งไฟอ่อน รอจนสุก จึงใส่น้ำผึ้งลงไปคนให้เข้ากัน ขั้นตอนนี้ต้องทำพร้อมกัน คือมือหนึ่งเท อีกมือก็คนให้ทั่ว นำมาทาหน้า วันละ 1 ชั่วโมง ช่วยรักษาฝ้า และทำให้ผิวหน้านวลใสขึ้น

สูตรสาวหน้าใส
ส่วนผสม น้ำผึ้ง น้ำมะนาว ผสมน้ำผึ้ง 1 ถ้วย น้ำมะนาว 1 ช้อนชา เข้าด้วยกัน นำมานวดให้ทั่วใบหน้า มะนาว จะช่วยขจัดเซลล์ผิว เหมือนครีมที่มีส่วนผสมAHA นั่นแหละ ส่วนน้ำผึ้ง ทำให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื่น นวดประมาณ 15 นาที

สูตรลดริ้วรอย
เลือกใช้ผลไม้ที่หาง่าย จะเป็นแอปเปิ้ล กล้วยหอม แตงกวา หรือมะเขือเทศก็ได้ค่ะ ใช้ปริมาณ 1 ถ้วย นำมาปอกเปลือกและเอาเมล็ดออก นำไปปั่นให้เนื้อละเอียด นำเนื้อผลไม้ที่เตรียมไว้ มาพอกให้ทั่วหน้า ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างออก และล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นอีกครั้ง จะทำให้ผิวหน้าเนียนนุ่ม เกลี้ยงเกลา แลดูสดใส

สูตรกระชับรูขุมขน
กล้วยหอม แตงกวา มะเขือเทศ (เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ปอกเปลือก เอาเมล็ดออก แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เติมนมเปรี้ยวหรือน้ำผึ้งลงไป นำไปปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อครีม นำมาพอกให้ทั่วใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้ ประมาณ 15 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น จะช่วยทำความสะอาดใบหน้า และช่วยกระชับรูขุมขน และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น

สูตรพิฆาตสิวเสี้ยน
นำไข่ขาว มาทาบาง ๆ บริเวณที่มีสิวเสี้ยน แล้วใช้กระดาษทิชชูหรือกระดาษซับหน้าแค่ชั้นเดียว วางทับลงไป รอให้แห้ง แล้วค่อย ๆ ดึงกระดาษออก โดยดึงจากมุมด้านล่าง สิ้วเสี้ยนที่เคยเป็นเสี้ยนหนามตำใจจะหลุดออกมาอย่างง่ายดายค่ะ
เคลนเซอร์สำหรับทุกสภาพผิว
โยเกิร์ต 1/2 ถ้วยน้ำมันดอกทานตะวัน 1 ช้อนโต๊ะน้ำมะนาว 1 1/2 ช้อนโต๊ะ (คั้นสด ๆ นะคะ)นำส่วนผสมทั้งหมด มาผสมให้เข้ากัน พอกให้ทั่วหน้าทุกเช้าและก่อนนอน แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาดจะช่วยทำความสะอาดผิวหน้าได้อย่างล้ำลึก และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551

หน่วยการเรียนที่ 6 สื่อและแหล่งการเรียนรู้

สื่อการเรียนรู้
สื่อการเรียนรู้ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการ ซึ่งอาจจำแนกเป็น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อบุคคล สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สื่อกิจกรรมหรือกระบวนการ แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้
สื่อและแหล่งการเรียนรู้ คือ สิ่งที่ใช้เป็นสื่อกลางให้ผู้สอนสามารถถ่ายทอด ความรู้ เจตคติและทักษะไปยังผู้เรียน สามารถมองเห็นเป็นรูปธรรมได้ ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือทำให้บทเรียนง่ายขึ้น และในการจัดทำสื่อขึ้นใช้ต้องคำนึงถึงคุณสมบัติของสื่อที่ดี คือ น่าสนใจ ประหยัดช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วและถูกต้อง การเขียนสื่อและแหล่งการเรียนรู้ให้เขียนเรียงตามลำดับกิจกรรมการเรียนรู้ที่กำหนด สื่อการเรียนรู้ หมายถึง วัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการ ซึ่งอาจจำแนกเป็น สื่อสิ่งพิมพ์สื่อบุคคล สื่อวัสดุ สื่ออุปกรณ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สื่อกิจกรรมหรือกระบวนการ แหล่งการเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียนใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

สื่อการสอน
สื่อการสอน หมายถึง ตัวกลางที่ถ่ายถอดสารสนเทศไปสู่ผู้เรียน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาประกอบการเรียนการสอน เพื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวผู้เรียนที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการค้นคว้าหรือการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้ มีความเหมือนกันคือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้ มีความแตกต่างกันคือ สื่อการสอน ยังเป็นเพียงตัวกลางที่ใช้ในการถ่ายทอดเนื้อหาและความรู้เท่านั้น และผู้สอนเป็นผู้นำมาหรือจัดเตรียมเพื่อประกอบการเรียนการสอน แต่สื่อการเรียน เป็นเครื่องมือที่ใช้ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ เพิ่มพูนทักษะ ผู้เรียนสามารถค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และสามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตได้


การเรียนการสอนในยุคปัจจุบันไม่สามารถจะจำกัดอยู่แต่เพียงในห้องเรียนเท่านั้นอีกต่อไปแล้วพฤติกรรมทางการเรียนรู้และการจัดสถานการณ์เพื่อให้เกิดกระบวนการทางการเรียนรู้อาจจัดขึ้นณที่ใดๆก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และโอกาสเครื่องมืออย่างสำคัญที่จะช่วยให้การจัดสถานการณ์ทางการเรียนรู้มีประสิทธิผลที่จำเป็นได้แก่สื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา หากขาดสิ่งดังกล่าวนี้แล้ว การจัดสถานการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ย่อมจะขีดวงจำกัดเข้ามาเป็นอย่างมาก สื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษานั้น สามารถสร้างสถานการณ์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอันมาก อาจกล่าวได้ว่า โดยปกติจากขอบเขตจำกัด ทั้งเวลาและสถานที่ ถ้าหากว่ามีอุปกรณ์และเครื่องมือพร้อม ก็จะช่วยขจัดข้อจำกัดดังกล่าวได้

ดังนั้น สื่อการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา จึงเปรียบเสมือนมือไม้ของครูที่สำคัญจะขาดเสียไม่ได้ในการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบัน ไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตามด้วยเหตุนี้เองมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงได้จัดหลักสูตรการเรียนการสอนในรายวิชานี้ขึ้นตามจุดประสงค์ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

1.สื่อการสอน
นักวิชาการ และนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของ สื่อการสอน ไว้หลายท่าน พอสรุปได้ ดังนี้

เชอร์ส (Shores. 1960 : 1) กล่าวว่า สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใด ๆ ก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน เพื่อเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ทรัพยากรจากชุมชน เป็นต้น
ฮาส และแพคเกอร์ (Hass and PacKer. 1964 : 11) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนะคติ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งไปยังผู้เรียน หรือเป็นเครื่องมือประกอบการสอน ที่เราสามารถได้ยินและมองเห็นได้เท่า ๆ กัน
บราวน์ และคนอื่น ๆ (Brown and other. 1964 : 584) กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียน จนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะที่เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์ เป็นต้น
เกอร์ลัช และอีลี (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 :141 : อ้างอิงมาจาก Gerlach and Ely.) ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน คือ บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น
ไฮนิคส์ โมเลนดาและรัสเซล (Heinich, Molenda and Russel. 1985 : 5) ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์โทรทัศน์วิทยุเทปบันทึกเสียงภาพถ่ายวัสดุฉายและวัตถุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ เมื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอน หรือส่งเนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า สื่อการสอน
เปรื่อง กุมุท (2519 : 1) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างดี
วาสนา ชาวหา(2522:59) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งใดๆก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียนและทำให้การเรียนการสอนเป็นไป
ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 4) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ชม ภูมิภาค (2526 : 5) กล่าวว่า สื่อการสอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการสอน เป็นพาหนะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529 : 112) ให้ความหมายของสื่อการสอนว่า คือวัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย) วิธีการ (กิจกรรม เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พิมพ์พรรณ เทพสุมาธานนท์ (2531 : 29) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับให้การสอนของครูกับผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี
สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึงวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.ประเภทของสื่อการสอน
สื่อการสอนนั้นมีมากมายและได้พัฒนาให้เกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นักเทคโนโลยีการศึกษา ได้กำหนดและแบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ หลายท่านดังนี้
Dale (1969 : 107 -128) ได้แบ่งสื่อการสอนออกเป็น 11 ประเภทโดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอน โดยยึดความเป็นรูปธรรมและนามธรรม(ConcreteandAbstract)เป็นหลักในการแบ่งประเภทและได้แบ่งประเภทสื่อการสอนในรูปกรวยประสบการณ์ (The Cone of experience) โดยให้สื่อที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุดไปไว้ที่ฐานกรวยและสื่อที่เป็นนามธรรมน้อยที่สุดไปไว้ที่ยอดกรวย ดังนี้
1. ประสบการณ์ตรงที่มีความหมาย ( Direct and Purposeful Experiences ) เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากความเป็นจริง ผู้รับประสบการณ์ได้รับโดยการผ่านทางประสาทสัมผัสของจริงในชีวิต และประสบการณ์เหล่านั้นมีความหมายต่อผู้ได้รับประสบการณ์
2. ประสบการณ์จำลอง ( Contrived Experiences ) เป็นประสบการณ์ที่จำลองแบบจากของจริง เพราะของจริงอาจมีขนาดใหญ่ หรือมีความซับซ้อนเกินไป ถ้าใช้ของจำลองอาจทำให้เข้าใจง่ายกว่า ประสบการณ์นี้ ได้แก่ ของตัวอย่าง หุ่นจำลอง เป็นต้น
3. ประสบการณ์นาฏการ (Dramatized Experiences) เป็นการมีส่วนร่วมในการแสดง ประสบการณ์ได้จากการศึกษาเนื้อเรื่องที่จะแสดง การจัดฉาก การบอกบท การแต่งบทละคร ฯลฯ
4. การสาธิต (Demonstrations) เป็นการให้ดูตัวอย่างประกอบการอธิบายการสาธิตที่ดีต้องมีอุปกรณ์ประกอบ ผู้สาธิตควรรู้จักการใช้อุปกรณ์นั้นด้วย เช่น การสาธิต การทดลองทางวิทยาศาสตร์ การสาธิตท่ากายบริหารต่าง ๆ ฯลฯ
5. การศึกษานอกสถานที่ (Study Trips) หมายถึง การพาผู้เรียนไปศึกษานอกสถานที่ เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์และความรู้กว้างขวางขึ้น เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้เรียนประสบกับบางสิ่งโดยตรง ซึ่งไม่สามารถจัดได้ในห้องเรียน
6. นิทรรศการ (Exhibitions) หมายถึง การแสดงสิ่งของต่าง ๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ดูซึ่งอาจรวมเอา หุ่นจำลอง การสาธิต แผนภูมิ ฯลฯ ไว้เพื่อให้ผู้ดูรับประสบการณ์ต่าง ๆ จากสิ่งเหล่านั้น
7. โทรทัศน์การศึกษา (Education Television) รายการโทรทัศน์จะทำให้ผู้เรียนได้เห็นภาพและได้ยินเสียงเหตุการณ์และความเป็นไปต่าง ๆ ในขณะเดียวกับที่มีการถ่ายทอดเหตุการณ์นั้น ๆ อยู่
8.ภาพยนตร์ (motionPicture)เป็นการจำลองเหตุการณ์มาให้ผู้เรียนได้ดูได้ฟังใกล้เคียงกับความเป็นจริงแม้จะไม่ใช่เวลาเดียวกันกับเหตุการณ์จริงสามารถใช้ได้ดีในการประกอบ
การสาธิต เพราะเปิดโอกาสให้ผู้ดูได้เห็นเหตุการณ์อย่างใกล้ชิด
9. ภาพนิ่ง (Recordings. Radio. And Still Pictures) ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาด แผ่นโปร่งใส สไลด์ การบันทึกเสียงต่างๆ และวิทยุสามารถใช้กับการเรียนเป็นกลุ่มหรือรายบุคคลภาพสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราได้ศึกษาส่วนวิทยุและการบันทึกเสียงให้ความรู้แก่ผู้ฟังโดยไม่ต้องอ่าน
10.ทัศนสัญลักษณ์ (Visul Symbols) ได้แก่ แผนภาพ แผนภูมิ แผนสถิติ ภาพโฆษณา การ์ตูน ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับการถ่ายทอดความหมาย นำมาใช้แทนความหมายที่เป็นข้อเท็จจริง
11.วจนสัญลักษณ์ (Verbal Symbols) ได้แก่ คำพูด ตัวหนังสือ ตัวอักษรผู้ที่จะเข้าใจสัญลักษณ์นี้ได้ต้องอาศัย ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานมากพอสมควร

เปรื่อง กุมุท (2521 : 98-99) ได้กล่าวว่า สื่อการสอนมีขอบเขตครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
1.บุคคลนอกจากครูบรรณารักษ์และคนอื่นๆ ที่โรงเรียนมีอยู่แล้วยังหมายถึงใครก็ได้ที่ไม่ได้ผลิตมาสำหรับโรงเรียนบุคคลเหล่านี้สามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนรู้ได้เช่น วิทยากร เป็นต้น
2. วัสดุ หมายถึง อุปกรณ์ การสอนที่โรงเรียนมีอยู่ เช่น ของจริง รูปภาพ เป็นต้น
3. อุปกรณ์และเครื่องมือ ได้แก่ เครื่องฉาย เครื่องเสียงต่าง ๆ รวมทั้งห้องปฏิบัติการทดลอง และห้องปฏิบัติการทางภาษา ตลอดจนเครื่องมือและวัสดุฝึกต่าง ๆ
4. สถานที่ หมายถึง อาคาร โรงเรียนฝึกงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ และแหล่งวิทยาการอื่น ๆ ภายในโรงเรียน
5. กิจกรรม หมายถึง กิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในโรงเรียน เช่น การสาธิต ทดลอง นาฏการ การแสดงนิทรรศการ การศึกษานอกสถานที่ เป็นต้น

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529 : 112) ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ 3 ประเภท ดังต่อไปนี้คือ
1. วัสดุ หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการผุพังสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย สไลด์
2. อุปกรณ์ หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ เช่น กระดานดำ กล้องถ่ายรูป เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องรับโทรทัศน์ ฯลฯ
3. กระบวนการและวิธีการ ได้แก่ การจัดระบบ การสาธิตทดลอง เกมส์ และกิจกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ครูจัดขึ้นและมุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติ

กิดานันท์ มลิทอง (2531 : 79 - 80) ได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้ 5 ประเภท โดยแบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้ (Learning Resources) ได้เป็นสื่อที่ออกแบบขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายทางการศึกษาและสื่อที่อยู่ทั่วไปแล้วนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่
1.คน (People) ในทางการศึกษาโดยตรงนั้นหมายถึงบุคลากรที่อยู่ในระบบโรงเรียนได้แก่ครูผู้บริหารผู้แนะแนวการศึกษาผู้ช่วยสอนหรือผู้ที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ส่วนคนตามความหมายของการประยุกต์ใช้นั้น ได้แก่ คนที่ทำงานหรือมีความชำนาญงานในแต่ละสาขาซึ่งมีอยู่ในวงสังคมโดยทั่ว ๆ ไป ซึ่งคนเหล่านี้นับเป็นผู้เชี่ยวชาญถึงแม้จะไม่ใช่นักการศึกษาแต่ก็สามารถจะช่วยอำนวยความสะดวกหรือมาเป็นวิทยากรเพื่อเสริมการเรียนรู้ได้ในการให้ความรู้แต่ละด้าน เช่น ศิลปิน นักการเมือง นายธนาคาร ช่างซ่อมรถยนต์ ฯลฯ เป็นต้น
2. วัสดุ (Materials) วัสดุในการศึกษาโดยตรงจะเป็นประเภทที่บรรจุเนื้อหาบทเรียนรู้โดยรูปแบบของวัสดุมิใช่สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงเช่นหนังสือ สไลด์ ฟิล์มสตริป แผนที่ เป็นต้น หรือสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ร่วมกันซึ่งเป็นทรัพยากรทางการเรียนและได้รับการออกแบบเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียน ส่วนวัสดุที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนนั้นจะมีลักษณะเช่นเดียวกับวัสดุที่ใช้ในการศึกษาดังกล่าวข้างต้นเพียงแต่เนื้อหาที่บรรจุในวัสดุนั้นส่วนมากจะอยู่ในรูปของการให้ความบันเทิง เช่นการจัดนิทรรศการภาพเขียนหรือภาพยนตร์สารคดีชีวิตสัตว์เป็นต้นซึ่งสิ่งเหล่านี้มักถูกมองไปในรูปของความบันเทิงแต่สามารถให้ความรู้ทางการศึกษาได้เช่นกัน
3. อาคารสถานที่ (Settings) หมายถึง ตัวตึก สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลเกี่ยวข้องกับทรัพยากรรูปแบบอื่น ๆ ที่กล่าวมาแล้วและกับผู้เรียนด้วย ซึ่งสถานที่สำคัญในการศึกษา ได้แก่ ตึกเรียนและสถานที่อื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการเรียนการสอนโดยส่วนรวม เช่น ห้องสมุด หอประชุม สนามเด็กเล่น เป็นต้น ส่วนสถานที่ต่าง ๆ ในชุมชนก็สามารถใช้เป็นทรัพยากรสื่อการเรียนได้ เช่น โรงงาน ตลาด สถานที่ทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น
4. เครื่องมือและอุปกรณ์ (ToolandEquipment)เป็นทรัพยากรการเรียนรู้ที่ช่วยในการผลิตหรือใช้ร่วมกับทรัพยากรอื่นส่วนมากเป็นเครื่องมือทางด้านโสตทัศนูปกรณ์หรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่ตะปู ไขควง เป็นต้น
5. กิจกรรม (Activities) โดยทั่วไปและกิจกรรมที่กล่าวถึงนี้มักเป็นการดำเนินงานที่จัดขึ้นเพื่อกระทำร่วมกับทรัพยากรอื่นๆหรือเป็นเทคนิควิธีการพิเศษเพื่อการเรียนการสอน เช่นการสอนแบบโปรแกรมเกมและสถานการณ์จำลองหรือการจัดทัศนศึกษากิจกรรมเหล่านี้มักมีวัตถุประสงค์เฉพาะที่ตั้งขึ้นมีการใช้วัสดุการเรียนเฉพาะวิชาหรือมีวิธีการพิเศษในการเรียนการสอน

จากการที่นักเทคโนโลยีการศึกษาได้แบ่งประเภทของสื่อการสอนไว้นั้น พอจะสรุปได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ เป็นต้น
1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method) หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

3.หลักการใช้สื่อการสอน
การใช้สื่อการสอนนับว่ามีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างยิ่งทั้งนี้เพราะถ้าใช้สื่อการสอนไม่ถูกต้องย่อมจะได้ผลน้อยหรือมีค่าเท่ากับไม่ได้ใช้เลยหากเป็นดังนี้ย่อมไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ฉะนั้นการใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งจึงควรพิจารณาให้ถี่ถ้วน และวางแผนการใช้อย่างรอบครอบการใช้สื่อการสอนในห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพนั้น ควรปฏิบัติตามหลักการดังนี้ คือ
1. หลักการเลือก ( Selection)
2. หลักการเตรียม ( Preparation)
3. หลักการนำเสนอ ( Presentation )
4. หลักการประเมินผล ( Evaluation )
มีนักวิชาการและนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้ง ต่างประเทศและในประเทศ ได้ให้หลักการปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนดังต่อไปนี้

1) หลักการเลือก (Selection)
โนเอล และลีโอนาร์ด (Noel and Leonard. 1962 :26-28 ) ให้หลักการเลือกสื่อการสอนไว้ ดังนี้
1. มีความเหมาะสมกับระดับสติปัญญาของผู้เรียน
2. เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
3. เหมาะสมกับความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
4. เหมาะสมกับเรื่องที่สอน
5. มีลักษณะที่น่าสนใจ
6. ตรงกับจุดประสงค์ในการสอน
7. ไม่เสียเวลาในการใช้มากเกินไป
8. เป็นแบบง่าย ๆ และไม่ซับซ้อนจนเกินไป
9. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น
10. ช่วยให้การเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่ผู้เรียน
11. ช่วยเพิ่มทักษะให้แก่ผู้เรียน
12. ให้ผลดีต่อการเรียนการสอนมากที่สุด
13. ราคาไม่แพงจนเกินไป

เดล (Dale. 1969 : 175 - 179 ) ได้ให้ข้อเสนอแนะในการเลือกสื่อการสอน ไว้ดังนี้
1. สื่อการสอนนั้นจะสามารถให้แนวคิดที่ถูกต้องได้เพียงใด
2. สื่อการสอนนั้นจะสามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่เรียนได้ดี เพียงใด
3. สื่อการสอนนั้น ๆ เหมาะสมกับวัย สติปัญญา และประสบการณ์ต่าง ๆของผู้เรียนเพียงใด
4. สภาพแวดล้อมเหมาะที่จะใช้สื่อการสอนนั้น ๆ หรือไม่
5. มีข้อเสนอแนะสั้น ๆ ในการใช้สื่อการสอนนั้นสำหรับครูหรือไม่
6. สื่อการสอนนั้นสามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาทางด้านความคิดได้หรือไม่
7. คุ้มค่ากับเวลาและการลงทุนหรือไม่

อีริคสัน (Erickson. 1971 : 97- 99) แนะนำว่าครูควรเลือกสื่อการสอนโดยพิจารณาจากคำถามต่อไปนี้
1.สื่อการสอนนั้นเป็นประโยชน์ต่อหน่วยการสอน และเป็นกิจกรรมในการแก้ปัญหาประสบการณ์เฉพาะหรือไม่
2.เนื้อหาที่ต้องใช้สื่อการสอนในการสื่อความหมายนั้นเป็นประโยชน์และสำคัญต่อผู้เรียน ชุมชน และสังคมหรือไม่
3.สื่อการสอนนั้นเหมาะกับจุดประสงค์การสอนหรือเป้าหมายของผู้เรียนหรือไม่
4.มีการตรวจสอบระดับความยากของจุดประสงค์การสอนเกี่ยวกับความเข้าใจความสามารถ เจตคติ และความนิยม
5.สื่อการสอนนั้นให้ความสำคัญต่อประสบการณ์จากการคิด การโต้ตอบ การอภิปรายและการศึกษา
6.เนื้อหาที่สอนในรูปของปัญหา และกิจกรรมของผู้เรียนหรือไม่
7.สื่อการสอนนั้นให้แนวคิดที่มีความสัมพันธ์กันหรือไม่
8.สื่อการสอนนั้นให้เนื้อหาความรู้เกี่ยวกับขนาด อุณหภูมิ น้ำหนัก ระยะทางการกระทำ กลิ่น เสียง สี ความมีชีวิตชีวา อารมณ์หรือไม่
9.สื่อการสอนนั้นให้ความแน่นอนและทันสมัยหรือไม่
10.สื่อการสอนนั้นปรับให้เข้ากับจุดประสงค์ที่พึงปรารถนาได้หรือไม่
11.สื่อการสอนนั้นมีรสนิยมดีหรือไม่
12.สื่อการสอนนั้นใช้ในห้องเรียนธรรมดาได้หรือไม่
13.เนื้อหาความรู้ของสื่อการสอนมีตัวอย่างให้มากหรือไม่

ลัดดา ศุขปรีดี (2523 : 61-62) ได้ให้หลักเกณฑ์ในการเลือกสื่อการสอนและประสบการณ์ในการเรียนการสอนไว้ดังนี้
1.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน
2.เลือกสื่อและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับลักษณะการตอบสนองและพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของผู้เรียนที่คาดหวังจะให้เกิดขึ้น
3.เลือกสื่อและประสบการณ์ในการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความสามารถและประสบการณ์เดิมของแต่ละคน
4.เลือกสื่อและอุปกรณ์พิเศษที่จะหาได้การเลือกสื่อจะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการนำสื่อการสอนนั้นมาใช้และไม่จำเป็นต้องใช้สื่อการสอนที่มีราคาแพงเสมอไป

วาสนา ชาวหา (2522 : 64) ได้เสนอแนวคิดในการเลือกใช้สื่อการสอไว้ดังนี้
1. ให้ความเหมาะสมและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
2. เหมาะสมกับวัย กิจกรรมหรือประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อการเรียนการสอน
3. เหมาะสมกับวัยและความสนใจของผู้เรียน
4. คำนึงความประหยัดและให้ผลคุ้มค่ากับการลงทุนทั้งในด้านเงินทุนและเวลาที่เสียไป
5. ใช้ได้สะดวกและปลอดภัย

ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526:157) กล่าวว่าการเลือกสื่อการสอนเพื่อนำมาเกื้อหนุนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งเพราะหากครูเลือกสื่อที่ไม่เหมาะสมเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนแล้ว การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นอาจไม่บรรลุสำเร็จตามจุดมุ่งหมายควรเลือกสื่อการสอนโดยยึดหลัก ดังนี้
1. สื่อต้องสัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายและเรื่องที่จะสอน
2. สื่อที่ต้องเหมาะสมกับความรู้และประสบการณ์ของผู้เรียน
3. เหมาะสมกับวัยและระดับของผู้เรียน
4. เนื้อหาและวิธีใช้ไม่ยุ่งยากและซับซ้อนจนเกินไป
5. น่าสนใจและทันสมัย
6. เนื้อหามีความถูกต้อง
7. เทคนิคการผลิตดี เช่น ขนาด สี เสียง ภาพ ความจริง เป็นต้น
8. เป็นสื่อที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียน
9. สามารถนำเข้าร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดี
10.ถ้ามีสื่อการสอนหลายอย่างในเรื่องเดียวกันให้กำหนดว่าสื่อใดเหมาะสมที่สุดที่จะให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้เรียนได้ดีที่สุด ในเวลาอันสั้น
สุนันท์ สังข์อ่อง (2526:16-18) ได้กำหนดเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพครูอาจพิจารณาโดยใช้คำถามต่อไปนี้เป็นแนวทางสื่อที่จะนำมาช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เนื้อหาตามหลักสูตรหรือไม่
1. สื่อชนิดนั้นเหมาะสมกับวัยหรือระดับชั้นของผู้เรียนหรือไม่
2. สื่อชนิดนั้นให้เนื้อหาความรู้ที่ทันเหตุการณ์และเวลาในขณะนั้นหรือไม่มีความถูกต้องน่าเชื่อถือในเนื้อหาที่เสนอให้แก่ผู้เรียนมากน้อยเพียงใด
3. สื่อชนิดนี้ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียน คิดและสืบเสาะหาความรู้ได้มากกว่าที่จะไม่ใช้สื่อการสอนหรือไม่
4. สื่อชนิดนั้นช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มใหญ่หรือรายบุคคลหรือไม่
5. ระยะเวลาในการเลือกสื่อการสอนนั้นเหมาะสมหรือไม่
6. สื่อชนิดนั้นเป็นที่น่าสนใจในด้านเทคนิคการผลิตหรือไม่ เช่น ลักษณะการจัดภาพเสียง ขนาด รูปแบบของการเสนอ เป็นต้น
7. คุ้มกับเวลาการลงทุนหรือไม่ ถ้าจำแนกสื่อนั้นมาใช้
8. สื่อชนิดนั้นเป็นที่ดึงดูดใจและน่าสนใจหรือไม่
9. สื่อนั้นช่วยเสนอแนะกิจกรรมอื่น ๆ ที่ผู้เรียนอาจปฏิบัติเพิ่มเติมได้หรือไม่

2) หลักการเตรียม (Preparation)
อีริคสัน และเคิร์ล (EricksonandCurl.1972:163-170) ได้กล่าวถึงการเตรียมก่อนการใช้สื่อการสอนต้องเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน ดังนี้
1. พัฒนาการสร้างความพร้อมเฉพาะอย่าง เช่น จะให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน ตอนไหน อย่างไร
2. แนะนำผู้เรียนเพื่อเป็นการเร้าให้เกิดการเรียนรู้จากสื่อที่ครูเลือกมา
3. สร้างกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสื่อการสอน
4. เลือกหาวิธีที่เหมาะสม ที่จะนำไปสู่การใช้สื่อการสอนนั้น ๆ
5. ใช้แหล่งการเรียนอื่น ๆ เพื่อสร้างความพร้อมให้เกิดขึ้นกับตัวผู้เรียน

นอกจากนั้นยังต้องเตรียมและควบคุมเกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและจัดสถานการณ์ เพื่อให้ผู้เรียนการใช้สื่อการสอนนั้นคุ้มค่ากับเวลา และทำให้ผู้เรียนมีความตั้งใจ และมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน ครูควรมีความสามารถและทักษะพื้นฐานดังนี้
1. สามารถใช้เครื่องมือเทคโนโลยีทางการศึกษาได้
2. สามารถป้องกันและแก้ไขข้อขัดข้องของเครื่องมือต่าง ๆ ได้
3. สามารถจัดสภาพห้องเรียนได้ดี ถ้าเป็นการฉายก็สามารถจัดสภาพฉายได้ดี
4. สามารถติดตั้งเครื่องมือต่าง ๆ ได้ดี
5. ติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม สะดวกต่อการใช้และการติดตามและเปิดโอกาสผู้เรียนได้เข้ามีส่วนร่วมได้เป็นอย่างดี
6. สามารถวางแผนกำหนดช่วงเวลาได้อย่างเหมาะสม
3) หลักการนำเสนอ (Presentation)
อีริคสัน และเคริ์ล (EricksonandCurl.1972:163-170)ได้กล่าวว่าเพื่อให้การนำเสนอได้ผลครูควรมีความรู้ความสามารถและทักษะพื้นฐานดังนี้1. เลือกกิจกรรมการสอนที่กระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเรียน อยากรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน
2. ใช้คำถามเป็นตัวกระตุ้นและชี้แนะ
3. ใช้การอภิปรายเพื่อนำไปสู่เนื้อหาและการสร้างมโนมติ
4. จัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมและสร้างกิจกรรมท้าทายในการแก้ปัญหา
5. ใช้สื่ออย่างมีลำดับ
6. จัดดำเนินการด้านการจัดสภาพการณ์ต่างๆ ในการใช้สื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้
7. สามารถจัดกลุ่มกิจกรรมให้ผู้เรียนหาความรู้จากสื่อต่าง ๆ ได้ เช่น จัดป้ายนิเทศจัดมุมวิชาการ และการศึกษาค้นคว้ารายงานเพิ่มเติม เป็นต้น

4) หลักการประเมินผล (Evaluation)
อีริคสัน และเคิร์ล(Ericksonandcurl.1972:163-170) ครูควรประเมินผลทั้งจากตัวสื่อและจากการใช้สื่อการสอนของครูเองทำให้ทราบว่าสื่อนั้นมีคุณค่าต่อการเรียนการสอนมากน้อยเพียงใดและครูเองมีเทคนิคในการใช้สื่อการสอนนั้นดีพอหรือไม่สื่อการสอนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายการสอนหรือไม่เพียงใดเพื่อนำไปปรับปรุงใช้ให้เหมาะสมในโอกาสต่อไป
ไฮนิกส์. โมเลนดา. และรัสเซล (Heinich. Molenda and ussel.1985 : 34-35) กล่าวว่า การประเมินผลควรกระทำใน 3 ลักษณะดังต่อไปนี้
1. การประเมินผลกระบวนการสอน เพื่อเป็นการตรวจสอบดูว่าผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ทั้งในด้านผู้สอน สื่อการสอน และวิธีสอน โดยในการประเมินผลนี้สามารถทำได้ทั้งในระยะก่อนการสอน ระหว่างการสอน และหลังการสอน
2. ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ว่ามีเกณฑ์เท่าใด การประเมินผลสามารถกระทำได้ เช่น วัตถุประสงค์ที่เป็นเชิงทักษะพิสัยอาจจะต้องเป็นการวัดกระบวนการของพฤติกรรม การตอบคำถามแบบปรนัย ถ้าเป็นวัตถุประสงค์เชิงจิตพิสัย การประเมินผลอาจต้องใช้การสังเกตเป็นเวลานานอย่างไรก็ตามการประเมินผลด้านต่างๆขึ้นอยู่กับการออกแบบและการวางแผนการสอนให้ตรงกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
3. การประเมินผลสื่อและวิธีใช้สื่อหรือวิธีการสอน เป็นการประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มประโยชน์ของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ปรับปรุงสื่อ ระยะเวลาในการนำเสนอ การประเมินผลต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อนำผลไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น สำหรับการนำไปใช้ครั้งต่อไป การประเมินผลอาจกระทำได้โดยการให้ผู้เรียนมีการอภิปรายและวิจารณ์สื่อการสอนและเทคนิคการสอน ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด


การออกแบบสื่อ
องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนการสอนคือสิ่งที่ครูมักนำไปประกอบการเรียนการสอนนั่นก็คือ สื่อการสอนนั่นเอง สื่อการสอนนับว่ามีประโยชน์มากเพราะสื่อการสอนเปรียบเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เข้าใจในเนื้อหาและได้เห็นภาพได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าที่ครูผู้สอนจะสอนโดยการมาบรรยายหรือสอนตามเนื้อหา โดยไม่มีอุปกรณ์ช่วยสอนเลย


สื่อการสอน คือ การนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการนำวัสดุ เครื่องมือและวิธีการมาประกอบในการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ในสิ่งที่ครูได้ถ่ายทอด รวมไปถึงมีความเข้าใจตรงตามเนื้อหา นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ง่ายยิ่งขึ้น และช่วยประหยัดเวลา หลักในการใช้สื่อ ในการพิจารณาเลือกใช้สื่อการสอนแต่ละครั้งครูควรพิจารณาถึงความเหมาะสมของสื่อการสอนแต่ละชนิด ดังนี้
1. ความเหมาะสม สื่อที่จะใช้นั้นเหมาะสมกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์ของการสอนหรือไม่
2. ความถูกต้อง สื่อที่จะใช้ช่วยให้นักเรียนได้ข้อสรุปที่ถูกต้องหรือไม่
3. ความเข้าใจ สื่อที่จะใช้นั้นควรช่วยให้นักเรียนรู้จักคิดอย่างมีเหตุผลและให้ข้อมูลที่ถุกต้องแก่นักเรียน
4. ประสบการณ์ที่ได้รับ สื่อที่ใช้นั้นช่วยเพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน
5. เหมาะสมกับวัย ระดับความยากง่ายของเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในสื่อชนิดนั้น ๆ เหมาะสมกับระดับความสามารถ ความสนใจ และความต้องการของนักเรียนหรือไม่ 6. เที่ยงตรงในเนื้อหา สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เนื้อหาที่ถูกต้องหรือไม่
7. ใช้การได้ดี สื่อที่นำมาใช้ควรทำให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ได้ดี
8. คุ้มค่ากับราคา ผลที่ได้จะคุ้มค่ากับเวลา เงิน และการจัดเตรียมสื่อนั้นหรือไม่
9. ตรงกับความต้องการ สื่อนั้นช่วยให้นักเรียนร่วมกิจกรรมตามที่ครูต้องการหรือไม่
10. ช่วยเวลาความสนใจ สื่อนั้นช่วยกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในช่วงเวลานานพอสมควรหรือไม่

ประโยชน์ของสื่อ 1. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้จากวัตถุที่เป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนได้สร้างแนวความคิดด้วยตนเอง 2. กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจในเรื่องที่จะเรียนมากขึ้น 3. ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้งายขึ้นและสามารถจดจำได้นาน 4. ให้ประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง 5. นำประสบการณ์นอกห้องเรียนมาให้นักเรียนศึกษาในห้องเรียนได้ แม้ว่าสื่อการสอนจะมีประโยชน์และมีคุณค่าต่อการเรียนการสอน แต่ถ้าครูผู้สอนผลิตสื่อหรือนำสื่อไปใช้ไม่ตรงตามจุดประสงค์และเนื้อหา ก็อาจทำให้สื่อนั้นไม่มีประสิทธิภาพและยังทำให้การสอนนั้นไม่ได้ผลเต็มที่ ดังนั้นครูควรมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบสื่อและการผลิตสื่อด้วย เพื่อให้สื่อนั้นมีทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน

การออกแบบสื่อการสอน การออกแบบสื่อการสอน คือ การวางแผนสร้างสรรค์สื่อการสอนหรือการปรับปรุงสื่อการสอนให้มีประสิทธิภาพและมีสภาพที่ดี โดยอาศัยหลักการทางศิลปะ รู้จักเลือกสื่อและวิธีการทำ เพื่อให้สื่อนั้นมีความสวยงาม มีประโยชน์และมีความเหมาะสมกับสภาพการเรียนการสอน

องค์ประกอบของการออกแบบ 1. จุด ( Dots ) 2. เส้น ( Line ) 3. รูปร่าง รูปทรง ( Shape- Form ) 4. ปริมาตร ( Volume ) 5. ลักษณะพื้นผิว ( Texture ) 6.บริเวณว่าง ( Space ) 7. สี ( Color ) 8. น้ำหนักสื่อ ( Value )

การเลือกสื่อ การดัดแปลง และการออกแบบสื่อ (Select , Modify , or Design Materials ) การเลือกสื่อที่เหมาะสมนั้นต้องพิจารณาตามหลัก 3 ประการ ดังนี้ 1. การเลือกสื่อที่มีอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ในสถาบันการศึกษามักจะมีทรัพยากรที่สามารถใช้เป็นสื่อได้อยู่แล้ว ดังนั้น สิ่งที่ผู้สอนต้องกระทำก็คือ ตรวจสอบดูว่ามีสิ่งใดที่จะใช้เป็นสื่อได้บ้าง โดยเลือกให้ตรงกับลักษณะผู้เรียนและวัตถุประสงค์ 2. การดัดแปลงสื่อที่มีอยู่แล้ว ให้ใช้ได้ดีและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเวลาและงบประมาณในการดัดแปลงสื่อด้วย 3. การออกแบบผลิตสื่อใหม่ ถ้าสื่อนั้นมีอยู่แล้วและตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียนการ สอน เราก็สามารถนำมาใช้ได้เลยแต่ถ้ามีอยู่โดยไม่ตรงกับจุดมุ่งหมายเราก็ใช้วิธีดัดแปลงได้ แต่ถ้าไม่มีสื่อตามที่ต้องการก็ต้องผลิตสื่อใหม่

การออกแบบผลิตสื่อใหม่ 1. จุดมุ่งหมาย ต้องพิจารณาว่าต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนอะไร 2. ผู้เรียน ควรได้พิจารณาผู้เรียนทั้งโดยรวมว่าเป็นใคร มีความรู้พื้นฐานและทักษะอะไรมาก่อน 3. ค่าใช้จ่าย มีงบประมาณเพียงพอหรือไม่ 4. ความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค ถ้าตนเองไม่มีทักษะจะหาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาจากแหล่งใด 5. เครื่องมืออุปกรณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็นพอเพียงต่อการผลิตหรือไม่ 6. สิ่งอำนวยความสะดวก มีอยู่แล้วหรือสามารถจะจัดหาอย่างไร 7. เวลา มีเวลาพอสำหรับการออกแบบหรือไม่ การวัดผลของสื่อและวิธีการ หลังจากที่เราออกแบบสื่อแล้วแล้วนำมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ก็ควรมีการวัดผลของสื่อ เป็นการวัดประสิทธิภาพของสื่อ ความคุ้มค่าของสื่อต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ วัดเพื่อปรับปรุงสื่อวัดผลถึงระยะเวลาที่ในการนำเสนอสื่อว่าพอเหมาะหรือมากเกินความจำเป็น การวัดผลสื่อนี้เพื่อผลในการใช้ดัดแปลงปรับปรุงให้ดีขึ้นสำหรับการนำไปใช้ในอนาคต เราสามารถที่จะนำเอาผลการอภิปรายในชั้นเรียน การสัมภาษณ์ และการสังเกตผู้เรียนมาใช้เป็นแนวทางในการวัดผลสื่อได้

http://www.lpru.ac.th/webpage_tec/webpageDuangchan/travel/knoekedg/page5.html http://learners.in.th/blog/kai270

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ทำไมถึงเลือกที่จะทำให้ตัวหนังสือเป็นสีเหลืองอ่ะคับ
ประเด็นคือมองไม่เห็น!!!! เอาสีที่มองเห็นชัดกว่านี้ได้ไหมคับ

Generate Your Own Glitter Graphics @ GlitterYourWay.com - Image hosted by ImageShack.us

เกี่ยวกับฉัน

เมื่อนานมาแล้ว ... มีต้นหญ้ากับนาฬิกาเรือนหนึ่ง เค้าทั้งสองเป็นเพื่อนกัน.... ทุกวันเวลาที่ผ่านไป นาฬิกาไม่เคยคิดถึงอะไรในข้างหน้าเลย เพราะตัวเค้าเป็นผู้ทำให้กาลเวลาแปรผันไป เวลาที่ผ่านไป........ จากวันเป็นเดือน.. จากเดือนเป็นปี.. "ความชรา" ได้เข้าครอบครองต้นหญ้า ในที่สุด.. นาฬิกาผู้คุมเวลาอยากจะหยุดเวลาตรงนั้นลง เค้าอยากจะย้อนเวลากลับไป... เพื่อจะได้อยู่ด้วยกัน.. แต่มันไม่ได้มีทางเป็นไปได้... ทุกสรรพสิ่งไม่ได้อยู่นิ่ง..

ลมหายใจ

ลมหายใจ
ครอบครัวอบอุ่น

*0* ------*0*------*0*

คำว่า ครอบครัว เป็นคำที่มีความหมายมาก คือหมายถึงความรัก ควาอบอุ่น ความเป็นอันเดียวกัน สมัยลูกเป็นเด็ก ๆ เราอยู่รวมกัน
เป็นครอบครัว มีเสียงหัวเราะสนุกสนาน มีเสียงวิ่งเล่นวิ่งไล่กัน ได้ทานอาหารร่วมกัน ได้ทำอะไรด้วยกัน ดูมันมีชีวิตชีวา แม้พ่อกับแม่
จะทำงานเหน็ดเหนื่อยกันมา พอเห็นหน้าลูก ๆ มาคอยต้อนรับที่หน้าประตู ถามว่าเหนื่อยไหมแล้วช่วยถือกระเป๋าถือของให้ เท่านี้ก็หาย
เหนื่อยแล้ว เห็นลูกกินได้ นอนหลับ พ่อกับแม่ก็สบายใจ ที่แหละลูกเอ๋ยที่เขาว่าครอบครัวที่อบอุ่น ตอนนี้ลูกก็โตกันแล้ว หากสามารถ
เสกเป่าได้ พ่อกับแม่ก็อยากจะเสกเป่าให้ครอบครัวเราเป็นครอบครัวที่อบอุ่น พร้อมหน้าพร้อมตากันเหมือนตอนเป็นเด็ก แม้จะนาน ๆ ครั้งก็ยังดี เห็นหน้าเห็นตากัน ทานข้าวด้วยกัน ถามไถ่สุขของกันและกัน ได้อุ้มหลานตัวน้อย ๆ เท่านี้ก็ยืดอายุให้พ่อแม่ได้อีกหลายปีแล้วลูกเอ๋ย

http://malinee.wordpress.com/feed/






Cute Backgrounds From Cherrybam.com
Falling Images, MySpace Codes, MySpace Layouts, MySpace Glitter Graphics from DressUpMySpace.com
Cursors from DressUpMyspace.com