การรับรู้ (Perception)

การรับรู้ คือ กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้า ข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ ตา ห จมูก ลิ้น และกาย เข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี สมองจึงเป็นคลังเก็บข้อมูลมหาศาลก็จะตีความสิ่งเร้าหรือข่าวสารนั้นโดยอาศัยการเทียบเคียงกับข้อมูลที่เคยสะสมไว้ก่อน หรือที่เรียกว่า ประสบการณ์เดิม
การรับรู้ คือ การสัมผัสที่มีความหมาย หรือการรู้ รู้สึกสิ่งต่างๆ สภาพต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้ามาทำปฏิกิริยากับตัวเราเป็นการแปลอาการสัมผัสให้มีความหมายขึ้นเกิด ซึ่งเป็นความรู้สึกซึ่งเฉพาะตัวสำหรับบุคคลนั้นๆ เมื่อมีการรู้สึกเกิดขึ้นจากอวัยวะในการรับความรู้สึกอันได้แก่ ตา หู ปาก จมูก ผิวหนัง อื่นๆ และถ้าการรู้สึกมีการตีความว่า การรู้สึกที่เกิดขึ้นคืออะไร นั่นถือว่ามีการรับรู้เกิดขึ้นแล้ว
สิ่งเร้า --> การรับรู้ --> การตอบสนอง
กระบวนการรับรู้ (Perception)
การรับรู้เป็นกระบวนการนำความรู้หรือข้อมูล ข่าวสารเข้าสู่สมอง โดยผ่านอวัยวะสัมผัส (Sensory Organ) สมองจะเก็บรวบรวมและจดจำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไว้เป็นประสบการณ์ เพื่อเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพหรือความคิดรวบยอด (Concept) และทัศนคติ (Attitude) ในการเปรียบเทียบหรือถ่ายโยงความหมายกับสิ่งเร้าใหม่ที่จะรับรู้ต่อ ๆ ไป ดังนั้นการรับรู้และการเรียนรู้จึงมีความเกี่ยวข้องกัน ถ้าไม่มีการรับรู้ การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้
การเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใ่ช่ ผลจากการตอบสนองจากธรรมชาติ สัญชาตญาณ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญกระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการต่อเนื่องเชื่อมโยงจากการรับรู้ กล่าวคือ เมื่อประสาทสัมผัสกระทบสิ่งเร้าและเกิดความรู้สึกส่งไปยังสมอง สมองบันทึกความรู้สึกนั้นไว้เป็นประสบการณ์และเมื่ออวัยวะรับสัมผัสกระทบกับสิ่งเร้าเดิมอีก สามารถระลึกได้ (Recall) หรือจำได้ (Recognition) ก็ถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น

การถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆแก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งมีจิตใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดมีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอนในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์
ความหมายของการเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์
กล่าวโดยสรุป การเรียนรู้ เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม อันสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่ได้รับมา โดยที่การเรียนรู้นั้นจะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต
หลักการของทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง
1. การเสริมแรงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง
2. การฝึกฝนได้แก่ การให้ทำแบบฝึกหัดหรือการฝึกซ้ำ
3. การรู้ผลการกระทำได้แก่ การที่สามารถให้ผู้เรียนได้รู้ผลการปฏิบัติได้ทันที
4. การสรุปเป็นกฎเกณฑ์
5. การแยกแยะได้แก่ การจัดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะความแตกต่างของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. ความใกล้ชิดได้แก่ การสอนที่คำนึงถึงความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้
1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง

2. ให้ทราบผลย้อนกลับทันที
3. ให้ได้ประสบการณ์แห่งการสำเร็จ
4. การให้เรียนไปทีละน้อยตามอันดับขั้น
หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการจูงใจ
1.การจูงใจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผลักดันให้บุคคลปฏิบัติกระตือรือร้น
2.ความต้องการทางกาย อารมณ์และสังคม
3.การเลือกสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
4.การจูงใจขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของผู้เรียน
5.ผู้สอนควรจะพิจารณาสิ่งล้อใจหรือรางวัล
หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการถ่ายโยงการเรียนรู้
1.การถ่ายโยงควรจะต้องปลูกฝังความรู้ความคิดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ
2.ผู้สอนควรใช้วิธีแก้ปัญหาหรือวิธีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวาง
3.การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
4.การถ่ายโยงที่อาศัยสถานการณ์ที่สัมพันธ์กันระหว่างสถานการณ์เดิมและสถานการณ์ใหม่
การสื่อความหมาย
การสื่อความหมาย คือ การส่งข่าวสารความคิดเห็นระหว่างบุคคล อาจส่งผ่านทางเสียงทำให้เกิดการได้ยินจากอวัยวะการรับเสียง
องค์ประกอบที่สมบูรณ์ของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งสาร
2.

3.ช่องทางการสื่อสาร
4.การแปรรหัสสาร
5.ผู้รับสาร
6.ปฏิกิริยาของผู้รับสารและการตอบสนอง
อุปสรรคและความสำเร็จของการสื่อสาร
1.มีความรู้ความสามารถทั้งผู้ส่งและผู้รับสาร
2.มีทักษะในการสื่อสาร
3.มีเจตคติที่ดี
4.พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม
สรุปการสื่อความกับการเรียนการสอน
การเรียนการสอนเป็นการสื่อความอย่างหนึ่ง เพราะมีผู้ส่งความรู้คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหา คือ ความรู้ มีผู้รับคือ นักเรียนมีขบวนการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า สื่อ หรือ สื่อการสอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น