สวัสดีค่ะ *-* ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ ...ทุกคนนะคะ *-*

อาจารย์ผู้สอนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

...... ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ ..... มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, อ.จอมบึงจ.ราชบุรี .....ป.กศ.สูง วิชาเอกดนตรีศึกษา จาก วค.บ้านสมเด็จพระยาปริญญาตรี กศ.บ.(เกียรตินิยม)มศว.ประสานมิตรปริญญาโท ค.ม.(โสตทัศนศึกษา)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนักศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มเทคโนโลยีทางการศึกษา)มหาวิทยาลัยศิลปากรบล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนนักศึกษา ปีการศึกษา 2550/1

คนหน้าตาทันสมัย


หน้าสวยไร้สิว <== 17 วิธี ผิวสวย ไร้สิว<==


หนุ่มๆ สาวๆ ใครอยากหน้าใส ผิวดี ผมสวย เรามีสูตรเด็ดถึง 17 สูตร ลองไปทำกันดู รับรองว่าเด็ด

สูตรขจัดสิวหัวดำ
นำมะเขือเทศสดมาปั่นรวมกับข้าวโอ๊ตให้เข้ากัน แล้วผสมน้ำผึ้งสักเล็กน้อยนำมาทา บนใบหน้าให้ทั่ว เน้นเป็นพิเศษบริเวณที่มีสิวหัวดำ แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น

มาร์คพอกหน้าสูตรใบเตย
นำใบเตย4-5 ใบมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปปั่นรวมกับไข่ไก่ 2ช้อนโต๊ะจะได้มาร์คพอกหน้าเป็นครีมข้นๆ หอมกลิ่นใบเตย พอกหน้าไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วล้างหน้าตามปกติ

ถนอมผิวหน้าด้วยโยเกิร์ต
ล้างหน้าให้สะอาด ซับเบาๆด้วยผ้าขนหนู แล้วใช้มือแตะโยเกิร์ต(ให้ใช้ชนิดที่ไม่ผสมเนื้อผลไม้) มาพอกให้ทั่วผิวหน้า เว้นรอบปากและดวงตา นวดและคลีงเบาๆ พอกไว้ประมาณ 20 นาที จึงล้างออก หมั่นทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ผิวจะเปล่งปลั่งสดใสอมชมพูทีเดียวค่ะ

ครีมพอกหน้าสำหรับสาวผิวมันและผิวผสม
ให้ใช้แตงกวา1 ผล ไขไก่ 1 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่ขาว) และมะนาว 1 เสี้ยว หั่นแตงกวาเป็นแว่นบางๆ นำไปปั่นพร้อมกับไข่ขาวและบีบน้ำมะนาวลงไป ปั่นจนละเอียดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน นำมาพอกให้ทั่วใบหน้า เว้นรอบปากและดวงตาไว้ ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วจึงล้างหน้าตามปกติ หมั่นทำบ่อยๆ ทุกสัปดาห์ จะช่วยลดความมันส่วนเกิน และยังช่วยสมานผิวหน้า กระชับรูขุมขน ช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียน เต่งตึง และนวลนุ่มชุมชื่น
เพื่อเรียวขาสวย
ก่อนนอน นำมะนาวเปรี้ยวๆสักหนึ่งเสี้ยว บีบลงในดินสอพองพอหมาด ทาให้ทั่วขา ทิ้งไว้สักหนึ่งคืน รุ่งเช้าค่อยล้างออก แม้จะไม่ทำให้ขาเนียนขึ้นทันตาเห็น แต่หากทำเป็นประจำ ยืนยันว่าได้ผลค่ะ
ลบรอยกระด่างดำบนใบหน้าด้วยมะละกอสุก
นำมะละกอสุกมายีให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ สัก 10 นาที แล้วจึงล้างออก จะช่วยให้ ใบหน้าที่มีรอยด่างดำดูดีขึ้น

สูตรรักษาฝ้า
คั้นน้ำมะขามเปียก ให้ค่อนข้างใสสักหน่อย ตั้งไฟอ่อน รอจนสุก จึงใส่น้ำผึ้งลงไปคนให้เข้ากัน ขั้นตอนนี้ต้องทำพร้อมกัน คือมือหนึ่งเท อีกมือก็คนให้ทั่ว นำมาทาหน้า วันละ 1 ชั่วโมง ช่วยรักษาฝ้า และทำให้ผิวหน้านวลใสขึ้น

สูตรสาวหน้าใส
ส่วนผสม น้ำผึ้ง น้ำมะนาว ผสมน้ำผึ้ง 1 ถ้วย น้ำมะนาว 1 ช้อนชา เข้าด้วยกัน นำมานวดให้ทั่วใบหน้า มะนาว จะช่วยขจัดเซลล์ผิว เหมือนครีมที่มีส่วนผสมAHA นั่นแหละ ส่วนน้ำผึ้ง ทำให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื่น นวดประมาณ 15 นาที

สูตรลดริ้วรอย
เลือกใช้ผลไม้ที่หาง่าย จะเป็นแอปเปิ้ล กล้วยหอม แตงกวา หรือมะเขือเทศก็ได้ค่ะ ใช้ปริมาณ 1 ถ้วย นำมาปอกเปลือกและเอาเมล็ดออก นำไปปั่นให้เนื้อละเอียด นำเนื้อผลไม้ที่เตรียมไว้ มาพอกให้ทั่วหน้า ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างออก และล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นอีกครั้ง จะทำให้ผิวหน้าเนียนนุ่ม เกลี้ยงเกลา แลดูสดใส

สูตรกระชับรูขุมขน
กล้วยหอม แตงกวา มะเขือเทศ (เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ปอกเปลือก เอาเมล็ดออก แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เติมนมเปรี้ยวหรือน้ำผึ้งลงไป นำไปปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อครีม นำมาพอกให้ทั่วใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้ ประมาณ 15 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น จะช่วยทำความสะอาดใบหน้า และช่วยกระชับรูขุมขน และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น

สูตรพิฆาตสิวเสี้ยน
นำไข่ขาว มาทาบาง ๆ บริเวณที่มีสิวเสี้ยน แล้วใช้กระดาษทิชชูหรือกระดาษซับหน้าแค่ชั้นเดียว วางทับลงไป รอให้แห้ง แล้วค่อย ๆ ดึงกระดาษออก โดยดึงจากมุมด้านล่าง สิ้วเสี้ยนที่เคยเป็นเสี้ยนหนามตำใจจะหลุดออกมาอย่างง่ายดายค่ะ
เคลนเซอร์สำหรับทุกสภาพผิว
โยเกิร์ต 1/2 ถ้วยน้ำมันดอกทานตะวัน 1 ช้อนโต๊ะน้ำมะนาว 1 1/2 ช้อนโต๊ะ (คั้นสด ๆ นะคะ)นำส่วนผสมทั้งหมด มาผสมให้เข้ากัน พอกให้ทั่วหน้าทุกเช้าและก่อนนอน แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาดจะช่วยทำความสะอาดผิวหน้าได้อย่างล้ำลึก และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551

หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีระบบ

วิธีระบบ ( System Approach)
ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้นระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)



องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ

วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน องค์ประกอบของระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ




1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น
2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis ) การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ 1. ปัญหา (Identify Problem) 2.จุดมุ่งหมาย (Objectives) 3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints) 4. ทางเลือก (Alternatives) 5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection) 6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation) 7. การประเมินผล(Evaluation) 8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification)

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis ) ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหาที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึงความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้วและต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวาง และเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงานให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้น การวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใดยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข

ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7 ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไปลักษณะของระบบที่ดี


ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( efficiency) และมีความยั่งยืน (sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )

ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบ ๆตัว ของระบบ โลกรอบๆ ตัว เรียกว่า "สิ่งแวดล้อม" การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็น ระบบเปิด ( Open system ) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs ) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต ( output )แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกที่หนึ่ง มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่นระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า "เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ได้ให้ดีที่สุด"จุดหม่งุหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)ลักษณะที่สามของระบบ คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวเองให้อยู่ในลักษณะที่คงที่อยู่เสมอการรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและเอาท์พุดกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆของระบบหรือระบบย่อย ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ หรือระบบย่อยต่างๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอก อาหาร กระเพาะอาหาร ฯลฯ มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )


ลักษณะที่ดีของระบบ ลักษณะที่ดีของระบบคือ มีการแก้ไขและปรับตัวเองในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม บางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้นก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเองต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเอง เสียใหม่ ตัวอย่างเช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว

วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอนประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การประเมินความจำเป็น 2. การเลือกทางแก้ปัญหา 3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน 4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย 5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน 6. การลำดับขั้นตอนของการสอน 7. การเลือกสื่อ 8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น 9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น 10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ 11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก


ระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอน ก็คือ การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กันเพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้


องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ต่าง ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและกัน ส่วนที่สำคัญ คือ กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียน ยูเนสโก ( UNESCO ) ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ โดยมีองค์ประกอบ 6 ส่วน ดังนี้ 1. องค์ประกอบของการสอนจะประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอน วิธีสอนซึ่งทำงานประสานสัมพันธ์กัน อันจะเป็นพาหะหรือแนวทางผสมกลมกลืนกับเนื้อหาวิชา 2. กิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งที่มาของสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น 3. ผู้สอนต้องหาแนวทางแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด 4. การเสริมกำลังใจ การจูงใจแก่ผู้เรียน นับว่ามีอิทธิพลต่อการที่จะเสริมสร้างความสนใจให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ 5. การประเมินผล ผลที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประเมินทั้งระบบ เพื่อดูว่าผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไร เป็นการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกับประสิทธิผลของระบบ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงต่อไป 6. ผลที่ได้รับทั้งประเมิน เพื่อประเมินผลในการปรับปรุงและเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางการศึกษาว่า เป็นอย่างไร นอกจากนี้ บุญชม ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลิต ดังภาพ


ตัวป้อน ( Input ) หรือ ปัจจัยนำเข้าระบบ คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก ผู้สอน หรือครู เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้ ความสามารถความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง ความตั้งใจในการสอน ฯลฯ
ผู้เรียน เประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอนซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียนทักษะในการเรียนรู้ ฯลฯหลักสูตร หลักสูตรเป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักสูตร ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ - วัตถุประสงค์การเรียนรู้ - เนื้อหาสาระที่เรียน - กิจกรรมการเรียนการสอน (รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน) - การประเมินผลสิ่งอำนวยความสะดวก อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น ห้องเรียน สถานที่เรียน ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ แสงสว่าง ฯลฯ


กระบวนการ ( Process ) ในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอนอาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐานการสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริมการตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆ

การสร้างความพร้อมในการเรียน เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้นจึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถามใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้นักเรียนฟัง ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที และทำทุกครั้งที่สอน เมื่อพบว่าผู้เรียนยังไม่พร้อม

การใช้เทคนิคการสอนต่างๆ ควรทำการสอนโดยใช้เทคนิค วิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ หลาย ๆวิธีการใช้กิจกรรมเสริม วิธีสอนแต่ละวิธีหรือรูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเสริมกับวิธีสอน เช่น การให้ทำแบบฝึกหัด การให้การเสริมแรง การใช้คำถามชนิดต่าง ๆ การทบทวนสรุป เป็นต้น

ผลผลิต( Output ) ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีหลายด้านดังต่อไปนี้ -พุทธิพิสัย ( Cognitive ) -จิตพิสัย ( Affective ) -ทักษะพิสัย ( Psychomotor )

การติดตามผล ประเมินผล และปรับปรุง เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆทั้งหมดในระบบ โดยพิจารณาผลผลิตว่าได้ผลเป็นไปดังที่มุ่งหวังไว้หรือไม่มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงบ้าง


http://senarak.tripod.com/system.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

Generate Your Own Glitter Graphics @ GlitterYourWay.com - Image hosted by ImageShack.us

เกี่ยวกับฉัน

เมื่อนานมาแล้ว ... มีต้นหญ้ากับนาฬิกาเรือนหนึ่ง เค้าทั้งสองเป็นเพื่อนกัน.... ทุกวันเวลาที่ผ่านไป นาฬิกาไม่เคยคิดถึงอะไรในข้างหน้าเลย เพราะตัวเค้าเป็นผู้ทำให้กาลเวลาแปรผันไป เวลาที่ผ่านไป........ จากวันเป็นเดือน.. จากเดือนเป็นปี.. "ความชรา" ได้เข้าครอบครองต้นหญ้า ในที่สุด.. นาฬิกาผู้คุมเวลาอยากจะหยุดเวลาตรงนั้นลง เค้าอยากจะย้อนเวลากลับไป... เพื่อจะได้อยู่ด้วยกัน.. แต่มันไม่ได้มีทางเป็นไปได้... ทุกสรรพสิ่งไม่ได้อยู่นิ่ง..

ลมหายใจ

ลมหายใจ
ครอบครัวอบอุ่น

*0* ------*0*------*0*

คำว่า ครอบครัว เป็นคำที่มีความหมายมาก คือหมายถึงความรัก ควาอบอุ่น ความเป็นอันเดียวกัน สมัยลูกเป็นเด็ก ๆ เราอยู่รวมกัน
เป็นครอบครัว มีเสียงหัวเราะสนุกสนาน มีเสียงวิ่งเล่นวิ่งไล่กัน ได้ทานอาหารร่วมกัน ได้ทำอะไรด้วยกัน ดูมันมีชีวิตชีวา แม้พ่อกับแม่
จะทำงานเหน็ดเหนื่อยกันมา พอเห็นหน้าลูก ๆ มาคอยต้อนรับที่หน้าประตู ถามว่าเหนื่อยไหมแล้วช่วยถือกระเป๋าถือของให้ เท่านี้ก็หาย
เหนื่อยแล้ว เห็นลูกกินได้ นอนหลับ พ่อกับแม่ก็สบายใจ ที่แหละลูกเอ๋ยที่เขาว่าครอบครัวที่อบอุ่น ตอนนี้ลูกก็โตกันแล้ว หากสามารถ
เสกเป่าได้ พ่อกับแม่ก็อยากจะเสกเป่าให้ครอบครัวเราเป็นครอบครัวที่อบอุ่น พร้อมหน้าพร้อมตากันเหมือนตอนเป็นเด็ก แม้จะนาน ๆ ครั้งก็ยังดี เห็นหน้าเห็นตากัน ทานข้าวด้วยกัน ถามไถ่สุขของกันและกัน ได้อุ้มหลานตัวน้อย ๆ เท่านี้ก็ยืดอายุให้พ่อแม่ได้อีกหลายปีแล้วลูกเอ๋ย

http://malinee.wordpress.com/feed/






Cute Backgrounds From Cherrybam.com
Falling Images, MySpace Codes, MySpace Layouts, MySpace Glitter Graphics from DressUpMySpace.com
Cursors from DressUpMyspace.com