ในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคมอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่คนเราต้องคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต สิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุสิ่งของ อาจเป็นแนวคิดหรือ วิธีการก็ได้ ในโรงเรียนทั่วไปได้มีการนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ในงานวิจัยได้นำเอานวัตกรรมไปทดลองใช้ในชั้นเรียน และพบว่าได้ผลเป็นที่พอใจ จึงทำการเผยแพร่และใช้ในวงกว้างต่อมา เช่น ชุดการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ ภาพ และรูปแบบการสอนต่างๆ
ความหมายของนวัตกรรมการเรียนการสอน
นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการบัญญัติขึ้น เดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Inovare (= in) + novare = to renew, to modify) และ novare มาจากคำว่า novus (=new)Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่, เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary) นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพ
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาใน
การเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
นวัตกรรมการเรียนการสอน (Instructional Innovation)
นวัตกรรมการเรียนการสอน (Instructional Innovation) คือ สิ่งที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่ นำมาใช้อาจมีผู้คิดขึ้นก่อนแล้ว หรือคิดขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ นวัตกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแนวคิดหรือวิธีการ เช่น รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรืออาจมีลักษณะเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียน คอมพิวเตอร์ และชุดการ สอน เป็นต้น
องค์ประกอบของนวัตกรรมการเรียนการสอน
นวัตกรรมการเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการได้แก่
1. วัตถุประสงค์ เป็นส่วนที่บอกว่านวัตกรรมนั้นใช้เพื่อพัฒนาอะไร ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้คืออะไร
2. ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิด เป็นส่วนที่ทำให้นวัตกรรมนั้นมีความน่าเชื่อถือ เมื่อนำไปใช้จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และถ้าทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดนั้น มีงานวิจัยรองรับยิ่งทำให้มั่นใจในความสำเร็จ
3. โครงสร้าง หรือขั้นตอนการใช้ เป็นส่วนที่แสดงภาพรวมของนวัตกรรม ถ้านวัตกรรมเป็นสื่อการเรียนการสอนก็จะแสดงโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบต่างๆ เช่น ชุดการสอน ประกอบด้วย ซองกิจกรรมประจำศูนย์ แต่ละซองบรรจุบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรคำถาม และบัตรเฉลย อาจมีรูปภาพแผนภูมิ และ ของจริง นอกจากนี้ยังมีคู่มือครู ข้อทดสอบก่อน – หลังการเรียน แผ่นฝึกปฏิบัติ ถ้านวัตกรรมเป็นรูปแบบการสอนจะเป็นคำอธิบายการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนตามลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการสอน และขั้นกิจกรรมภายหลังการสอน รวมทั้งคำแนะนำในการใช้นวัตกรรม
4. การประเมินผล เป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรม ประกอบด้วย วิธีวัดผล เครื่องมือที่ใช้วัดผล และวิธีการประเมินผล
ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน
เมื่อการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) การนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนจึงมีจุดหมายที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนการสอน ดังนั้น จึงสามารถจัดประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับระบบการเรียนการสอนเป็น 4 ประเภทดังนี้
1. นวัตกรรมที่ปรับปรุงทั้งระบบการเรียนการสอน
(1) รูปแบบวิธีการระบบ (The System Approach Model) ของ DickและCarey (1985)
(2) กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล ของ ชนาธิป พรกุล (2535)
(3) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ (e-Learning)
2. นวัตกรรมที่ปรับปรุงตัวป้อน
(1) แฟ้มงานของครู (Teaching Portfolio)
(2) การสอนเป็นทีม (Team Teaching)
(3) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(4) หลักสูตรเพศศึกษา และชีวิตในครอบครัว
3.นวัตกรรมที่ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน
(1) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning Model)
(2) การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Child -Centered Approach)
(3) การสอนแบบสตอรีไลน์ (Storyline Approach) ของ Steve Bell (1967)
(4) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแคทส์ (CATS) ของ ชนาธิป พรกุล (2543)
4.นวัตกรรมที่ปรับปรุงผลผลิต
(1) การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
(2) การประกันคุณภาพการศึกษา
(4) หลักสูตรเพศศึกษา และชีวิตในครอบครัว
3.นวัตกรรมที่ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน
(1) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning Model)
(2) การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Child -Centered Approach)
(3) การสอนแบบสตอรีไลน์ (Storyline Approach) ของ Steve Bell (1967)
(4) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแคทส์ (CATS) ของ ชนาธิป พรกุล (2543)
4.นวัตกรรมที่ปรับปรุงผลผลิต
(1) การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
(2) การประกันคุณภาพการศึกษา
การประเมินนวัตกรรมการเรียนการสอน
ในการเลือกนวัตกรรมใดมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอน ควรพิจารณาว่านวัตกรรมนั้นมีลักษณะดังนี้ หรือไม่
1) มองเห็นชัดเจนว่า นวัตกรรมนั้นดีกว่าของเดิมที่ใช้อยู่ในด้านความสะดวก ความประหยัดและความพึงพอใจ
2) ไม่ขัดแย้งกับประเพณีวัฒนธรรม ค่านิยม และความต้องการของผู้ใช้
3) ไม่มีความซับซ้อนยุ่งยากในการใช้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะหรือความรู้ใหม่มากนัก
4) สามารถทดลอง หรือทดสอบได้ โดยใช้เวลาไม่มาก
5) สามารถเห็นผลของการใช้ได้อย่างชัดเจนและมีประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้การใช้นวัตกรรม คุ้มค่า สามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ผู้สอนควรทำการประเมินนวัตกรรมตามเกณฑ์ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่
1.เกณฑ์คุณลักษณะส่วนตัวของนวัตกรรม มี 5 ลักษณะ คือ
(1) ราคาไม่แพง ดูแลรักษาง่าย
(2) สะดวกในการนำไปใช้
(3) สำเร็จรูปใช้ได้ทันที
(4) ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษามาก
(5) ไม่ขัดกับสภาพสังคม
2. เกณฑ์ผลกระทบต่อสังคม มี 3 ประการ คือ
(1) มีคนนิยมใช้จำนวนมาก
(2) ผลของนวัตกรรมอยู่ได้นาน
(3) ไม่มีผลในทางลบ
3. เกณฑ์การพัฒนาการเรียนการสอน มี 3 ประเด็น คือ
(1) เกิดพัฒนาการในตัวผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประสบการณ์ หรือทักษะ
(2) ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอน เช่น ลดเวลาในการสอน หรือช่วยวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้
(3) ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
การใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนให้ได้ผล
มีผู้สอนจำนวนมากที่นำนวัตกรรมมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วไม่ประสบความสำเร็จทั้งนี้เป็นเพราะไม่ได้ศึกษาองค์ประกอบของนวัตกรรมนั้นอย่างละเอียดให้เข้าใจ การนำมาใช้จึงไม่ได้ผลเต็มที่เหมือนผู้คิดคนแรก ในการศึกษาองค์ประกอบของนวัตกรรม ควรเริ่มศึกษาจาก
1. วัตถุประสงค์ของนวัตกรรมใช้พัฒนาอะไร ตรงกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนหรือไม่
2. ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดของนวัตกรรมจะช่วยให้ผู้สอนมีความกระจ่าง และเห็นแนวทางในการใช้นวัตกรรมให้ได้ผล
3. โครงสร้างและขั้นตอนการใช้ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนจะต้องศึกษาให้เข้าใจและลองฝึกทำเพื่อให้ได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ของ นวัตกรรมนั้น
4. วิธีประเมินผลเป็นวิธีการที่นวัตกรรมระบุไว้สำหรับวัดผลความสำเร็จถ้าผู้สอนศึกษาครบทุกองค์ประกอบแล้ว ก็วางแผนการใช้นวัตกรรมได้ทันที หากพบว่ามีองค์ประกอบใดไม่อาจเข้ากับแผนการสอน ผู้สอนอาจปรับนวัตกรรมให้เข้ากับสภาพการเรียนการสอนได้ โดยพิจารณาปรับโครงสร้างหรือขั้นตอนการใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนสถานที่ หรือ เวลา ผู้สอนไม่ควรปรับขั้นตอนหลัก เพราะจะทำให้นวัตกรรมผิดเพี้ยนไป การปรับ นวัตกรรมต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์และหลักการให้มาก มิฉะนั้นการใช้นวัตกรรมจะไม่ได้ผล การเลือกใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ครูทุกคนควรศึกษาให้เชี่ยวชาญและเพื่อให้สามารถ นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาพของผู้เรียนแล้ว จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอน บรรลุจุดมุ่งหมายและประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง
(1) ราคาไม่แพง ดูแลรักษาง่าย
(2) สะดวกในการนำไปใช้
(3) สำเร็จรูปใช้ได้ทันที
(4) ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษามาก
(5) ไม่ขัดกับสภาพสังคม
2. เกณฑ์ผลกระทบต่อสังคม มี 3 ประการ คือ
(1) มีคนนิยมใช้จำนวนมาก
(2) ผลของนวัตกรรมอยู่ได้นาน
(3) ไม่มีผลในทางลบ
3. เกณฑ์การพัฒนาการเรียนการสอน มี 3 ประเด็น คือ
(1) เกิดพัฒนาการในตัวผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประสบการณ์ หรือทักษะ
(2) ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอน เช่น ลดเวลาในการสอน หรือช่วยวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้
(3) ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
การใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนให้ได้ผล
มีผู้สอนจำนวนมากที่นำนวัตกรรมมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วไม่ประสบความสำเร็จทั้งนี้เป็นเพราะไม่ได้ศึกษาองค์ประกอบของนวัตกรรมนั้นอย่างละเอียดให้เข้าใจ การนำมาใช้จึงไม่ได้ผลเต็มที่เหมือนผู้คิดคนแรก ในการศึกษาองค์ประกอบของนวัตกรรม ควรเริ่มศึกษาจาก
1. วัตถุประสงค์ของนวัตกรรมใช้พัฒนาอะไร ตรงกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนหรือไม่
2. ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดของนวัตกรรมจะช่วยให้ผู้สอนมีความกระจ่าง และเห็นแนวทางในการใช้นวัตกรรมให้ได้ผล
3. โครงสร้างและขั้นตอนการใช้ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนจะต้องศึกษาให้เข้าใจและลองฝึกทำเพื่อให้ได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ของ นวัตกรรมนั้น
4. วิธีประเมินผลเป็นวิธีการที่นวัตกรรมระบุไว้สำหรับวัดผลความสำเร็จถ้าผู้สอนศึกษาครบทุกองค์ประกอบแล้ว ก็วางแผนการใช้นวัตกรรมได้ทันที หากพบว่ามีองค์ประกอบใดไม่อาจเข้ากับแผนการสอน ผู้สอนอาจปรับนวัตกรรมให้เข้ากับสภาพการเรียนการสอนได้ โดยพิจารณาปรับโครงสร้างหรือขั้นตอนการใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนสถานที่ หรือ เวลา ผู้สอนไม่ควรปรับขั้นตอนหลัก เพราะจะทำให้นวัตกรรมผิดเพี้ยนไป การปรับ นวัตกรรมต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์และหลักการให้มาก มิฉะนั้นการใช้นวัตกรรมจะไม่ได้ผล การเลือกใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ครูทุกคนควรศึกษาให้เชี่ยวชาญและเพื่อให้สามารถ นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาพของผู้เรียนแล้ว จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอน บรรลุจุดมุ่งหมายและประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น