สวัสดีค่ะ *-* ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ ...ทุกคนนะคะ *-*

อาจารย์ผู้สอนวิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

...... ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ ..... มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, อ.จอมบึงจ.ราชบุรี .....ป.กศ.สูง วิชาเอกดนตรีศึกษา จาก วค.บ้านสมเด็จพระยาปริญญาตรี กศ.บ.(เกียรตินิยม)มศว.ประสานมิตรปริญญาโท ค.ม.(โสตทัศนศึกษา)จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนักศึกษาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน (กลุ่มเทคโนโลยีทางการศึกษา)มหาวิทยาลัยศิลปากรบล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการเรียนการสอนนักศึกษา ปีการศึกษา 2550/1

คนหน้าตาทันสมัย


หน้าสวยไร้สิว <== 17 วิธี ผิวสวย ไร้สิว<==


หนุ่มๆ สาวๆ ใครอยากหน้าใส ผิวดี ผมสวย เรามีสูตรเด็ดถึง 17 สูตร ลองไปทำกันดู รับรองว่าเด็ด

สูตรขจัดสิวหัวดำ
นำมะเขือเทศสดมาปั่นรวมกับข้าวโอ๊ตให้เข้ากัน แล้วผสมน้ำผึ้งสักเล็กน้อยนำมาทา บนใบหน้าให้ทั่ว เน้นเป็นพิเศษบริเวณที่มีสิวหัวดำ แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น

มาร์คพอกหน้าสูตรใบเตย
นำใบเตย4-5 ใบมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วนำไปปั่นรวมกับไข่ไก่ 2ช้อนโต๊ะจะได้มาร์คพอกหน้าเป็นครีมข้นๆ หอมกลิ่นใบเตย พอกหน้าไว้ประมาณ 5-10 นาที แล้วล้างหน้าตามปกติ

ถนอมผิวหน้าด้วยโยเกิร์ต
ล้างหน้าให้สะอาด ซับเบาๆด้วยผ้าขนหนู แล้วใช้มือแตะโยเกิร์ต(ให้ใช้ชนิดที่ไม่ผสมเนื้อผลไม้) มาพอกให้ทั่วผิวหน้า เว้นรอบปากและดวงตา นวดและคลีงเบาๆ พอกไว้ประมาณ 20 นาที จึงล้างออก หมั่นทำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ผิวจะเปล่งปลั่งสดใสอมชมพูทีเดียวค่ะ

ครีมพอกหน้าสำหรับสาวผิวมันและผิวผสม
ให้ใช้แตงกวา1 ผล ไขไก่ 1 ฟอง (ใช้เฉพาะไข่ขาว) และมะนาว 1 เสี้ยว หั่นแตงกวาเป็นแว่นบางๆ นำไปปั่นพร้อมกับไข่ขาวและบีบน้ำมะนาวลงไป ปั่นจนละเอียดเนียนเป็นเนื้อเดียวกัน นำมาพอกให้ทั่วใบหน้า เว้นรอบปากและดวงตาไว้ ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที แล้วจึงล้างหน้าตามปกติ หมั่นทำบ่อยๆ ทุกสัปดาห์ จะช่วยลดความมันส่วนเกิน และยังช่วยสมานผิวหน้า กระชับรูขุมขน ช่วยให้ผิวหน้าเรียบเนียน เต่งตึง และนวลนุ่มชุมชื่น
เพื่อเรียวขาสวย
ก่อนนอน นำมะนาวเปรี้ยวๆสักหนึ่งเสี้ยว บีบลงในดินสอพองพอหมาด ทาให้ทั่วขา ทิ้งไว้สักหนึ่งคืน รุ่งเช้าค่อยล้างออก แม้จะไม่ทำให้ขาเนียนขึ้นทันตาเห็น แต่หากทำเป็นประจำ ยืนยันว่าได้ผลค่ะ
ลบรอยกระด่างดำบนใบหน้าด้วยมะละกอสุก
นำมะละกอสุกมายีให้ละเอียด พอกหน้า ทิ้งไว้ สัก 10 นาที แล้วจึงล้างออก จะช่วยให้ ใบหน้าที่มีรอยด่างดำดูดีขึ้น

สูตรรักษาฝ้า
คั้นน้ำมะขามเปียก ให้ค่อนข้างใสสักหน่อย ตั้งไฟอ่อน รอจนสุก จึงใส่น้ำผึ้งลงไปคนให้เข้ากัน ขั้นตอนนี้ต้องทำพร้อมกัน คือมือหนึ่งเท อีกมือก็คนให้ทั่ว นำมาทาหน้า วันละ 1 ชั่วโมง ช่วยรักษาฝ้า และทำให้ผิวหน้านวลใสขึ้น

สูตรสาวหน้าใส
ส่วนผสม น้ำผึ้ง น้ำมะนาว ผสมน้ำผึ้ง 1 ถ้วย น้ำมะนาว 1 ช้อนชา เข้าด้วยกัน นำมานวดให้ทั่วใบหน้า มะนาว จะช่วยขจัดเซลล์ผิว เหมือนครีมที่มีส่วนผสมAHA นั่นแหละ ส่วนน้ำผึ้ง ทำให้ผิวนุ่ม ชุ่มชื่น นวดประมาณ 15 นาที

สูตรลดริ้วรอย
เลือกใช้ผลไม้ที่หาง่าย จะเป็นแอปเปิ้ล กล้วยหอม แตงกวา หรือมะเขือเทศก็ได้ค่ะ ใช้ปริมาณ 1 ถ้วย นำมาปอกเปลือกและเอาเมล็ดออก นำไปปั่นให้เนื้อละเอียด นำเนื้อผลไม้ที่เตรียมไว้ มาพอกให้ทั่วหน้า ทิ้งไว้ 15 นาที แล้วล้างออก และล้างหน้าด้วยน้ำอุ่นอีกครั้ง จะทำให้ผิวหน้าเนียนนุ่ม เกลี้ยงเกลา แลดูสดใส

สูตรกระชับรูขุมขน
กล้วยหอม แตงกวา มะเขือเทศ (เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง) ปอกเปลือก เอาเมล็ดออก แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เติมนมเปรี้ยวหรือน้ำผึ้งลงไป นำไปปั่นจนละเอียดเป็นเนื้อครีม นำมาพอกให้ทั่วใบหน้าและลำคอ ทิ้งไว้ ประมาณ 15 นาที แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น จะช่วยทำความสะอาดใบหน้า และช่วยกระชับรูขุมขน และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้น

สูตรพิฆาตสิวเสี้ยน
นำไข่ขาว มาทาบาง ๆ บริเวณที่มีสิวเสี้ยน แล้วใช้กระดาษทิชชูหรือกระดาษซับหน้าแค่ชั้นเดียว วางทับลงไป รอให้แห้ง แล้วค่อย ๆ ดึงกระดาษออก โดยดึงจากมุมด้านล่าง สิ้วเสี้ยนที่เคยเป็นเสี้ยนหนามตำใจจะหลุดออกมาอย่างง่ายดายค่ะ
เคลนเซอร์สำหรับทุกสภาพผิว
โยเกิร์ต 1/2 ถ้วยน้ำมันดอกทานตะวัน 1 ช้อนโต๊ะน้ำมะนาว 1 1/2 ช้อนโต๊ะ (คั้นสด ๆ นะคะ)นำส่วนผสมทั้งหมด มาผสมให้เข้ากัน พอกให้ทั่วหน้าทุกเช้าและก่อนนอน แล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาดจะช่วยทำความสะอาดผิวหน้าได้อย่างล้ำลึก และบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2551

วิชานวัตกรรมแห่งการเรียนรู้



ชีวิตไม่เคยมีคำว่าสาย
หากก้าวหลงเดินทางผิด
ย่อมกลับมาเริ่มต้นใหม่ได้
อาจจะช้ากว่าที่ควรจะเป็นไป
แต่ก็ยังดีกว่าดิ่งลึกจมลงในความเลวร้ายทุกที ทุกที..






สิ่งที่เราไม่ชอบ
บางครั้ง ... เราก็จำเป็นต้องรู้
อย่าปิดกั้นตัวเอง
ให้ห่างไกลจากสิ่งที่ไม่ชมชอบเลย
พราะในโลกนี้
สิ่งที่ทำร้ายเราได้ง่ายที่สุด
ก็คือ สิ่งที่เราไม่ยอมรู้และไม่เคยเข้าใจ



เนื้อหา

หน่ายการเรียนที่ 1 แนวคิด หลักการและทฤษฎีของนวัตกรรม
หน่วยการเรียนที่ 2 การรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย
หน่วยการเรียนที่ 3 นวัตกรรมการเรียนรู้
หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีระบบ
หน่วยการเรียนที่ 5 เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการเรียนรู้
หน่วยการเรียนที่ 6 สื่อและแหล่งการเรียนรู้

หน่วยการเรียนที่ 1 แนวคิด หลักการและทฤษฎีของนวัตกรรม


ในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคมอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่คนเราต้องคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต สิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุสิ่งของ อาจเป็นแนวคิดหรือ วิธีการก็ได้ ในโรงเรียนทั่วไปได้มีการนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน ในงานวิจัยได้นำเอานวัตกรรมไปทดลองใช้ในชั้นเรียน และพบว่าได้ผลเป็นที่พอใจ จึงทำการเผยแพร่และใช้ในวงกว้างต่อมา เช่น ชุดการสอน บทเรียนคอมพิวเตอร์ ภาพ และรูปแบบการสอนต่างๆ

ความหมายของนวัตกรรมการเรียนการสอน
นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการบัญญัติขึ้น เดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Inovare (= in) + novare = to renew, to modify) และ novare มาจากคำว่า novus (=new)Innovate แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่, เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามา "Innovation = การทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่ทำขึ้นม (International Dictionary) นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อนหรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพ


นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation)

นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาใน

การเรียน เช่น การสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

นวัตกรรมการเรียนการสอน (Instructional Innovation)
นวัตกรรมการเรียนการสอน (Instructional Innovation) คือ สิ่งที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่ นำมาใช้อาจมีผู้คิดขึ้นก่อนแล้ว หรือคิดขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ นวัตกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแนวคิดหรือวิธีการ เช่น รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรืออาจมีลักษณะเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียน คอมพิวเตอร์ และชุดการ สอน เป็นต้น

องค์ประกอบของนวัตกรรมการเรียนการสอน
นวัตกรรมการเรียนการสอน มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการได้แก่
1. วัตถุประสงค์ เป็นส่วนที่บอกว่านวัตกรรมนั้นใช้เพื่อพัฒนาอะไร ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้คืออะไร
2. ทฤษฎี หลักการหรือแนวคิด เป็นส่วนที่ทำให้นวัตกรรมนั้นมีความน่าเชื่อถือ เมื่อนำไปใช้จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และถ้าทฤษฎี หลักการ หรือแนวคิดนั้น มีงานวิจัยรองรับยิ่งทำให้มั่นใจในความสำเร็จ
3. โครงสร้าง หรือขั้นตอนการใช้ เป็นส่วนที่แสดงภาพรวมของนวัตกรรม ถ้านวัตกรรมเป็นสื่อการเรียนการสอนก็จะแสดงโครงสร้างที่เป็นส่วนประกอบต่างๆ เช่น ชุดการสอน ประกอบด้วย ซองกิจกรรมประจำศูนย์ แต่ละซองบรรจุบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรกิจกรรม บัตรคำถาม และบัตรเฉลย อาจมีรูปภาพแผนภูมิ และ ของจริง นอกจากนี้ยังมีคู่มือครู ข้อทดสอบก่อน – หลังการเรียน แผ่นฝึกปฏิบัติ ถ้านวัตกรรมเป็นรูปแบบการสอนจะเป็นคำอธิบายการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนตามลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นเตรียมการ ขั้นดำเนินการสอน และขั้นกิจกรรมภายหลังการสอน รวมทั้งคำแนะนำในการใช้นวัตกรรม
4. การประเมินผล เป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรม ประกอบด้วย วิธีวัดผล เครื่องมือที่ใช้วัดผล และวิธีการประเมินผล

ประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน
เมื่อการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) การนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนจึงมีจุดหมายที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนการสอน ดังนั้น จึงสามารถจัดประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับระบบการเรียนการสอนเป็น 4 ประเภทดังนี้

1. นวัตกรรมที่ปรับปรุงทั้งระบบการเรียนการสอน
(1) รูปแบบวิธีการระบบ (The System Approach Model) ของ DickและCarey (1985)
(2) กระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบรับประกันผล ของ ชนาธิป พรกุล (2535)
(3) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ (e-Learning)
2. นวัตกรรมที่ปรับปรุงตัวป้อน
(1) แฟ้มงานของครู (Teaching Portfolio)
(2) การสอนเป็นทีม (Team Teaching)
(3) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(4) หลักสูตรเพศศึกษา และชีวิตในครอบครัว

3.นวัตกรรมที่ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน
(1) รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning Model)
(2) การจัดการเรียนการสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(Child -Centered Approach)
(3) การสอนแบบสตอรีไลน์ (Storyline Approach) ของ Steve Bell (1967)
(4) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแคทส์ (CATS) ของ ชนาธิป พรกุล (2543)

4.นวัตกรรมที่ปรับปรุงผลผลิต
(1) การประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)
(2) การประกันคุณภาพการศึกษา

การประเมินนวัตกรรมการเรียนการสอน
ในการเลือกนวัตกรรมใดมาใช้ปรับปรุงการเรียนการสอน ควรพิจารณาว่านวัตกรรมนั้นมีลักษณะดังนี้ หรือไม่
1) มองเห็นชัดเจนว่า นวัตกรรมนั้นดีกว่าของเดิมที่ใช้อยู่ในด้านความสะดวก ความประหยัดและความพึงพอใจ
2) ไม่ขัดแย้งกับประเพณีวัฒนธรรม ค่านิยม และความต้องการของผู้ใช้
3) ไม่มีความซับซ้อนยุ่งยากในการใช้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพัฒนาทักษะหรือความรู้ใหม่มากนัก
4) สามารถทดลอง หรือทดสอบได้ โดยใช้เวลาไม่มาก
5) สามารถเห็นผลของการใช้ได้อย่างชัดเจนและมีประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้การใช้นวัตกรรม คุ้มค่า สามารถพัฒนาการเรียนการสอนได้ตรงตามวัตถุประสงค์ ผู้สอนควรทำการประเมินนวัตกรรมตามเกณฑ์ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่

1.เกณฑ์คุณลักษณะส่วนตัวของนวัตกรรม มี 5 ลักษณะ คือ
(1) ราคาไม่แพง ดูแลรักษาง่าย
(2) สะดวกในการนำไปใช้
(3) สำเร็จรูปใช้ได้ทันที
(4) ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษามาก
(5) ไม่ขัดกับสภาพสังคม

2. เกณฑ์ผลกระทบต่อสังคม มี 3 ประการ คือ
(1) มีคนนิยมใช้จำนวนมาก
(2) ผลของนวัตกรรมอยู่ได้นาน
(3) ไม่มีผลในทางลบ

3. เกณฑ์การพัฒนาการเรียนการสอน มี 3 ประเด็น คือ
(1) เกิดพัฒนาการในตัวผู้เรียน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประสบการณ์ หรือทักษะ
(2) ช่วยแบ่งเบาภาระของผู้สอน เช่น ลดเวลาในการสอน หรือช่วยวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้
(3) ช่วยให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

การใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนให้ได้ผล
มีผู้สอนจำนวนมากที่นำนวัตกรรมมาใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนแล้วไม่ประสบความสำเร็จทั้งนี้เป็นเพราะไม่ได้ศึกษาองค์ประกอบของนวัตกรรมนั้นอย่างละเอียดให้เข้าใจ การนำมาใช้จึงไม่ได้ผลเต็มที่เหมือนผู้คิดคนแรก ในการศึกษาองค์ประกอบของนวัตกรรม ควรเริ่มศึกษาจาก
1. วัตถุประสงค์ของนวัตกรรมใช้พัฒนาอะไร ตรงกับวัตถุประสงค์ของบทเรียนหรือไม่
2. ทฤษฎี หลักการ และแนวคิดของนวัตกรรมจะช่วยให้ผู้สอนมีความกระจ่าง และเห็นแนวทางในการใช้นวัตกรรมให้ได้ผล
3. โครงสร้างและขั้นตอนการใช้ เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้สอนจะต้องศึกษาให้เข้าใจและลองฝึกทำเพื่อให้ได้ผลตรงตามวัตถุประสงค์ของ นวัตกรรมนั้น
4. วิธีประเมินผลเป็นวิธีการที่นวัตกรรมระบุไว้สำหรับวัดผลความสำเร็จถ้าผู้สอนศึกษาครบทุกองค์ประกอบแล้ว ก็วางแผนการใช้นวัตกรรมได้ทันที หากพบว่ามีองค์ประกอบใดไม่อาจเข้ากับแผนการสอน ผู้สอนอาจปรับนวัตกรรมให้เข้ากับสภาพการเรียนการสอนได้ โดยพิจารณาปรับโครงสร้างหรือขั้นตอนการใช้ในส่วนที่เป็นรายละเอียดปลีกย่อย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนสถานที่ หรือ เวลา ผู้สอนไม่ควรปรับขั้นตอนหลัก เพราะจะทำให้นวัตกรรมผิดเพี้ยนไป การปรับ นวัตกรรมต้องคำนึงถึงวัตถุประสงค์และหลักการให้มาก มิฉะนั้นการใช้นวัตกรรมจะไม่ได้ผล การเลือกใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็นที่ครูทุกคนควรศึกษาให้เชี่ยวชาญและเพื่อให้สามารถ นำไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสภาพของผู้เรียนแล้ว จะช่วยให้การจัดการเรียนการสอน บรรลุจุดมุ่งหมายและประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง

หน่วยการเรียนที่ 2 การรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย


การรับรู้ (Perception)
การรับรู้ คือ กระบวนการแปลหรือตีความต่อสิ่งเร้า ข่าวสารที่ผ่านอวัยวะรับสัมผัสทั้งหลาย ได้แก่ ตา ห จมูก ลิ้น และกาย เข้าไปยังสมองในรูปของไฟฟ้าและเคมี สมองจึงเป็นคลังเก็บข้อมูลมหาศาลก็จะตีความสิ่งเร้าหรือข่าวสารนั้นโดยอาศัยการเทียบเคียงกับข้อมูลที่เคยสะสมไว้ก่อน หรือที่เรียกว่า ประสบการณ์เดิม

การรับรู้ คือ การสัมผัสที่มีความหมาย หรือการรู้ รู้สึกสิ่งต่างๆ สภาพต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้ามาทำปฏิกิริยากับตัวเราเป็นการแปลอาการสัมผัสให้มีความหมายขึ้นเกิด ซึ่งเป็นความรู้สึกซึ่งเฉพาะตัวสำหรับบุคคลนั้นๆ เมื่อมีการรู้สึกเกิดขึ้นจากอวัยวะในการรับความรู้สึกอันได้แก่ ตา หู ปาก จมูก ผิวหนัง อื่นๆ และถ้าการรู้สึกมีการตีความว่า การรู้สึกที่เกิดขึ้นคืออะไร นั่นถือว่ามีการรับรู้เกิดขึ้นแล้ว


สิ่งเร้า --> การรับรู้ --> การตอบสนอง

กระบวนการรับรู้ (Perception)
การรับรู้เป็นกระบวนการนำความรู้หรือข้อมูล ข่าวสารเข้าสู่สมอง โดยผ่านอวัยวะสัมผัส (Sensory Organ) สมองจะเก็บรวบรวมและจดจำสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นไว้เป็นประสบการณ์ เพื่อเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดมโนภาพหรือความคิดรวบยอด (Concept) และทัศนคติ (Attitude) ในการเปรียบเทียบหรือถ่ายโยงความหมายกับสิ่งเร้าใหม่ที่จะรับรู้ต่อ ๆ ไป ดังนั้นการรับรู้และการเรียนรู้จึงมีความเกี่ยวข้องกัน ถ้าไม่มีการรับรู้ การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้

การเรียนรู้ (Learning)
การเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากเดิมไปสู่พฤติกรรมใหม่ค่อนข้างถาวร และพฤติกรรมใหม่นี้เป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใ่ช่ ผลจากการตอบสนองจากธรรมชาติ สัญชาตญาณ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญกระบวนการเรียนรู้ เป็นกระบวนการต่อเนื่องเชื่อมโยงจากการรับรู้ กล่าวคือ เมื่อประสาทสัมผัสกระทบสิ่งเร้าและเกิดความรู้สึกส่งไปยังสมอง สมองบันทึกความรู้สึกนั้นไว้เป็นประสบการณ์และเมื่ออวัยวะรับสัมผัสกระทบกับสิ่งเร้าเดิมอีก สามารถระลึกได้ (Recall) หรือจำได้ (Recognition) ก็ถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น

การเรียนรู้และการสื่อความหมาย
การถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆแก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งมีจิตใจอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดมีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอนในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์

ความหมายของการเรียนรู้
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์

กล่าวโดยสรุป การเรียนรู้ เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากเดิม อันสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ของแต่ละบุคคลที่ได้รับมา โดยที่การเรียนรู้นั้นจะเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิต

หลักการของทฤษฎีสิ่งเร้าและการตอบสนอง
1. การเสริมแรงเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง
2. การฝึกฝนได้แก่ การให้ทำแบบฝึกหัดหรือการฝึกซ้ำ
3. การรู้ผลการกระทำได้แก่ การที่สามารถให้ผู้เรียนได้รู้ผลการปฏิบัติได้ทันที
4. การสรุปเป็นกฎเกณฑ์
5. การแยกแยะได้แก่ การจัดประสบการณ์ที่ผู้เรียนสามารถแยกแยะความแตกต่างของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
6. ความใกล้ชิดได้แก่ การสอนที่คำนึงถึงความใกล้ชิดระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง

การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้
1. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง
2. ให้ทราบผลย้อนกลับทันที
3. ให้ได้ประสบการณ์แห่งการสำเร็จ
4. การให้เรียนไปทีละน้อยตามอันดับขั้น

หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการจูงใจ
1.การจูงใจเป็นเครื่องมือสำคัญที่ผลักดันให้บุคคลปฏิบัติกระตือรือร้น
2.ความต้องการทางกาย อารมณ์และสังคม
3.การเลือกสื่อและกิจกรรมการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน
4.การจูงใจขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพของผู้เรียน
5.ผู้สอนควรจะพิจารณาสิ่งล้อใจหรือรางวัล

หลักการและแนวคิดที่สำคัญของการถ่ายโยงการเรียนรู้
1.การถ่ายโยงควรจะต้องปลูกฝังความรู้ความคิดเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ต่างๆ
2.ผู้สอนควรใช้วิธีแก้ปัญหาหรือวิธีการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวาง
3.การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล
4.การถ่ายโยงที่อาศัยสถานการณ์ที่สัมพันธ์กันระหว่างสถานการณ์เดิมและสถานการณ์ใหม่

การสื่อความหมา
การสื่อความหมาย คือ การส่งข่าวสารความคิดเห็นระหว่างบุคคล อาจส่งผ่านทางเสียงทำให้เกิดการได้ยินจากอวัยวะการรับเสียง

องค์ประกอบที่สมบูรณ์ของการสื่อสาร
1.ผู้ส่งสาร
2.ตัวเข้ารหัสสาร
3.ช่องทางการสื่อสาร
4.การแปรรหัสสาร
5.ผู้รับสาร
6.ปฏิกิริยาของผู้รับสารและการตอบสนอง



อุปสรรคและความสำเร็จของการสื่อสาร
1.มีความรู้ความสามารถทั้งผู้ส่งและผู้รับสาร
2.มีทักษะในการสื่อสาร
3.มีเจตคติที่ดี
4.พื้นฐานทางสังคมและวัฒนธรรม

สรุปการสื่อความกับการเรียนการสอน
การเรียนการสอนเป็นการสื่อความอย่างหนึ่ง เพราะมีผู้ส่งความรู้คือ ครู มีข่าวสารหรือเนื้อหา คือ ความรู้ มีผู้รับคือ นักเรียนมีขบวนการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า สื่อ หรือ สื่อการสอน


หน่วยการเรียนที่ 3 นวัตกรรมการเรียนรู้


นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )
นวัตกรรมการเรียนรู้ หรือเรียกอีกนัยหนึ่งว่า นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation ) หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย
ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เป็นต้น

ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา




มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรม ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนาจากความหมายของนวัตกรรม
“นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่าง รวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เป็นต้น นวัตกรรมทางการศึกษา Innovation หมายถึงการนำความคิดใหม่ ๆ วิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่แปลกไปจากเดิม หรืออาจจะได้รับการปรับปรุงของเก่าให้ใหม่และเหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้รับการทดลอง พิสูจน์และพัฒนาเป็นขั้นเป็นตอนเป็นระบบ จนเป็นที่เชื่อถือได้ว่าให้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้งานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรานำมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแนวปฏิบัติทางการศึกษา โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษาให้สูงขึ้น


ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ
1. วัสดุ ได้แก่ สิ่งที่มีการผุพังสิ้นเปลืองต่างๆ อาทิ ชอล์ค ดินสอ กระดาษ ฟิล์ม
2. อุปกรณ์หรือเครื่องมือ ได้แก่ สิ่งที่มีความคงทนถาวร อาทิ กระดานดำ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายแผ่นใส เครื่องบันทึกภาพ ฯลฯ
3. วิธีการ ได้แก่ กิจกรรม การสาธิต ทดลองต่างๆ ซึ่งจะต้องมี ระบบการนำมาบูรณาการให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพ เทคนิค หมายถึง หลักการหรือวิธีการใช้หรือซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือ เพื่อให้เครื่องมือทำงานได้ดีที่สุด การใช้เทคนิคมีหลัก 3 ประการ ดังนี้
1. จะใช้เครื่องมืออย่างไร
2. จะซ่อมเครื่องมืออย่างไร
3.จะบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างไร ผู้มีความรู้ทำหน้าที่ดังกล่าวได้ เรียกว่า ช่างเทคนิค (Technician)
เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่านักเทคโนโลยี (Technologist) โดยมีหลักการ 5 ประการ ดังนี้
1. จะใช้เครื่องมือกับใคร
2. จะใช้เครื่องมือเมื่อใด
3. จะใช้เครื่องมือที่ไหน
4. จะใช้เครื่องมือทำไม
5. จะใช้เครื่องมือเพื่ออะไร


กล่าวโดยสรุป เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีทางการศึกษา หรือหมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นระบบเพื่อใช้ปฏิบัติในการแก้ปัญหาการศึกษาและการเรียนการสอน ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการคือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษา หมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้น อุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัสด้านการฟัง และการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่า โสตทัศนอุปกรณ์ เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจจะพิจารณาจาก ความคิดรวบยอดของเทคโนโลยีได้เป็น 2 ประการ ดังนี้


1. ความคิดรวบยอดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ การใช้เครื่องมือเหล่านี้ มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงาน มักไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้ โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การรับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น





ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
1. นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา เช่น การศึกษารายบุคคล ระบบการสอนทางไกล การสอนระบบเปิด การศึกษานอกระบบโรงเรียน
2. นวัตกรรมด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรแบบบูรณาการ หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่
3. นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน เช่น การสอนเป็นคณะ ชุดการสอน บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน การเรียนด้วยตนเอง การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การสอนแบบ คอนสทรัคทิวิสซึ่ม การสอนแบบคอล์แลปบอราทอรี่ (ร่วมมือกัน)
4. นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยีทางการศึกษา เช่น สไลด์ วีดิทัศน์ วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ต (Web-based Instruction) หรือ e-Learning
5. นวัตกรรมด้านการประเมินผล เช่น การวัดผลแบบอิงกลุ่ม อิงเกณฑ์ การวัดผล ก่อนเรียน การวัดผลหลังเรียน การวิเคราะห์ ข้อสอบ
6. นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา การใช้ทฤษฎีบริหารจัดการ การใช้คอมพิวเตอร์จัดเก็บข้อมูล ฯลฯ

กระบวนของการพัฒนานวัตกรรม
นวัตกรรมการเรียนการสอน โดยทั่วไปมักเกิดจากความต้องการในการแก้ปัญหาปรับปรุงการเรียนการสอนของครู ดังนั้นจุดเริ่มต้นของกระบวนการพัฒนานวัตกรรม จึงอยู่ที่การศึกษาสภาพปัญหา การคิดค้นหรืออกแบบนวัตกรรมให้สอดคล้องกับปัญหา การสร้างหรือพัฒนานวัตกกรมให้สมบูรณ์ตามแนวหรือกรอบของแบบนวัตกรรมที่กำหนด การทดลองวิจัยและพัฒนาเพื่อให้นวัตกรรมมีประสิทธิภาพสูงสุด การเผยแพร่ไปสู่ประชากรเป้าหมายเพื่อให้เกิดการยอมรับและนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายและกว้างขวาง



เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
เทคโนโลยีทางการสอน
เทคโนโลยีทางการสอน เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอน เทคโนโลยีการศึกษาเป็นเรื่องของเทคโนโลยีทางการเรียนการสอน เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เทคนิคและวิธีการมากมาย ไม่มีเทคนิคหรือวิธีการใดที่เราจะยอมรับว่าดีที่สุดสำหรับการเรียนการสอน เทคนิคและวิธีการแต่ละอย่างก็มีความเหมาะสมตามสภาพการณ์ และเนื้อหาวิชาที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การเรียนการสอนที่มีวัสดุอุปกรณ์ตลอดจน เครื่องมือ จะช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์มากกว่าการเรียนการสอน โดยให้นักเรียนฟังแต่เพียงคำพูดของครูเพียงอย่างเดียว การเรียนการสอนที่ปฏิบัติได้จริงส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดประสบการณ์ตรงให้กับผู้เรียนได้ทุกเนื้อหาวิชาเนื่องจากอาจมีข้อจำกัดบางประการ ดังนี้



- ต้องลงทุนมาก
- ต้องใช้เวลานานมาก อาจเป็นหลายวัน หลายปีหรือหลายร้อยปี
- มีความยุ่งยากซับซ้อนมาก
- ความรู้บางอย่างไม่อาจสัมผัสได้โดยตรง
ดังนั้น นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงแล้ว เรายังมีความจำเป็นต้องจัดประสบการณ์อย่างอื่น ให้ผู้เรียนได้รับแทนประสบการณ์ตรงด้วย เช่น การใช้รูปภาพ หนังสือ แผนภูมิ วิทยุโทรทัศน์ วิธีการอื่น ๆ อีกมากมาย เพื่อให้ผลิตทางการศึกษาทางการศึกษามีคุณภาพสูง สุด การจัดประสบการณ์ในการเรียนการสอน ครูมักเน้นหนักที่การใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นสำคัญ ซึ่งไม่อาจรับรอง หรือเชื่อถือได้ว่าจะบรรลุจุดประสงค์ทั้งนี้เพราะการใช้วัสดุอุปกรณ์กับคน ซึ่งมีชีวิตจิตใจ มีอารมณ์ มีสภาพแวดล้อม ไม่คงที่ จำเป็นจะต้องปรับกระบวนการในการใช้ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ วิธีการ กระบวนการต่าง ๆ ที่นำมาใช้จะต้องเป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ซึ่งก็คือการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษานั่นเอง

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
1. คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
2. วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
3. เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น
4. สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
นวัตกรรมทางการศึกษา EDUCATIONAL INNOVATION เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการมาจากภาษาอังกฤษว่าInnovation มาจากคำกริยา ว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทย เดิมใช้คำว่า นวกรรม ต่อมา พบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยน มาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้น ไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็น นวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอาเข้ามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา(Educational Innovation)
นวัตกรรม ในสังคมต่าง ๆ ย่อมจะแตกต่างกันไป บางสิ่งอาจจะเป็นนวัตกรรมของสังคมหนึ่งแต่สิ่งเดียวกันนั้นกลับเป็นสิ่งธรรมดาของอีกสังคมหนึ่งก็ได้ แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ ดังนี้
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติมุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่าง เช่น การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์ ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์ ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นวิธีใหม่ ๆ เช่นการใช้บทเรียนโปรแกรม เครื่องสอน การสอนเป็นคณะ
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมที่เดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติแต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองความคิดอันนี้ได้แก่ การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น มหาวิทยาลัยเปิด บทเรียนสำเร็จรูป การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคมทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสอทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก


หน่วยการเรียนที่ 4 วิธีระบบ

วิธีระบบ ( System Approach)
ระบบ คือ ภาพส่วนรวมของโครงสร้างหรือของขบวนการอย่างหนึ่งที่มีการจัดระเบียบความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ที่รวมกันอยู่ในโครงการหรือขบวนการนั้นระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ทีใช้ในการวางแผนและดำเนินการต่าง ๆเพื่อให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

วิธีการระบบมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ ดังนี้
1. ข้อมูลวัตถุดิบ ( Input )
2. กระบวนการ ( Process)
3. ผลผลิต ( Output )
4. การตรวจผลย้อนกลับ ( Feedback)



องค์ประกอบทั้ง 4 ส่วนนี้ จะมีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน ดังภาพ

วิธีการระบบที่ดี จะต้องเป็นการจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้อย่างประหยัดและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ถ้าระบบใดมีผลผลิตทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพมากกว่าข้อมูล วัตถุดิบที่ป้อนเข้าไป ก็ถือได้ว่าเป็นระบบที่มีคุณภาพ ในทางตรงข้ามถ้าระบบมีผลผลิตที่ต่ำกว่าข้อมูลวัตถุดิบที่ไปใช้ ก็ถือว่าระบบนั้นมีประสิทธิภาพต่ำลักษณะสำคัญของวิธีระบบ
1. เป็นการทำงานร่วมกันเป็นคณะของบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบนั้น ๆ
2. เป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. เป็นการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม
4. เป็นการแก้ปัญหาใหญ่ โดยแบ่งออกเป็นปัญหาย่อย ๆ เพื่อสะดวกในการแก้ปัญหา อันจะเป็นผลให้แก้ปัญหาใหญ่ได้สำเร็จ
5. มุ่งใช้การทดลองให้เห็นจริง
6. เลือกแก้ปัญหาที่พอจะแก้ไขได้และเป็นปัญหาเร่งด่วนก่อน องค์ประกอบของระบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ




1. สิ่งที่ป้อนเข้าไป ( Input ) หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในกระบวนการหรือโครงการต่างๆ เช่น ในระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน อาจได้แก่ ครู นักเรียน ชั้นเรียน หลักสูตร ตารางสอน วิธีการสอน เป็นต้น ถ้าในเรื่องระบบหายใจ อาจได้แก่ จมูก ปอด กระบังลม อากาศ เป็นต้น
2. กระบวนการหรือการดำเนินงาน ( Process) หมายถึง การนำเอาสิ่งที่ป้อนเข้าไป มาจัดกระทำให้เกิดผลบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น การสอนของครู หรือการให้นักเรียนทำกิจกรรม เป็นต้น
3. ผลผลิต หรือการประเมินผล (Output) หมายถึง ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน หรือผลงานของนักเรียน เป็นต้น ผลที่ได้จากการกระทำในขั้นที่สอง การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) การวิเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการนำเอาผลที่ได้ ซึ่งเรียกว่า ข้อมูลย้อนกลับ (Feed Back) จากผลผลิตหรือการประเมินผลมาพิจารณาปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

การวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis ) การกระทำหลังจากผลที่ได้ออกมาแล้วเป็นการปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลและมามาใช้แก้ไขข้อบกพร่องในส่วนต่าง ๆ หรือ การดูข้อมูลย้อนกับ ( Feedback ) ดังนั้นการนำข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการวิเคราะห์ระบบจึงเป็นส่วนสำคัญของวิธีระบบ ( System Approach) ซึ่งจะขาดองค์ประกอบนี้ไม่ได้มิฉะนั้นจะไม่ก่อให้เกิดการแก้ปัญหาได้ตรงเป้าหมายและการปรับปรุงที่มีประสิทธิภาพขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ 1. ปัญหา (Identify Problem) 2.จุดมุ่งหมาย (Objectives) 3. ศึกษาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraints) 4. ทางเลือก (Alternatives) 5. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (Selection) 6. การทดลองปฏิบัติ (Implementation) 7. การประเมินผล(Evaluation) 8. การปรับปรุงแก้ไข (Modification)

ขั้นตอนของการวิเคราะห์ระบบ ( System Analysis ) ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นตั้งปัญหาหรือกำหนดปัญหา ในขั้นนี้ต้องศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่าอะไรคือปัญหาที่ควรแก้ไข
ขั้นที่ 2 ขั้นกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหานั้น ๆ ว่าจะให้ได้ผลในทางใด มีปริมาณและคุณภาพเพียงใดซึ่งการกำหนดวัตถุประสงค์นี้ควรคำนึงถึงความสามารถในการปฏิบัติและออกมาในรูปการกระทำ
ขั้นที่ 3 ขั้นสร้างเครื่องมืดวัดผล การสร้างเครื่องมือนี้จะสร้างหลังจากกำหนดวัตถุประสงค์แล้วและต้องสร้างก่อนการทดลองเพื่อจะได้ใช้เครื่องมือนี้ วัดผลได้ตรงตามเวลาและเป็นไปทุกระยะ
ขั้นที่ 4 ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ที่จะใช้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ควรมองด้วยใจกว้างขวาง และเป็นธรรม หลาย ๆแง่ หลาย ๆ มุม พิจารณาข้อดีข้อเสียตอลดจนข้อจำกัดต่าง ๆ
ขั้นที่ 5 เลือกเอาวิธีที่ดีที่สุดจากขั้นที่ 4 เพื่อนำไปทดลองในขั้นต่อไป
ขั้นที่ 6 ขั้นการทำอง เมื่อเลือกวิธีการใดแล้วก็ลงมือปฏิบัติตามวิธีการนั้น การทดลองนี้ควรกระทำกับกลุ่มเล็กๆ ก่อนถ้าได้ผลดีจึงค่อยขยายการปฏิบัติงานให้กว้างขวางออกไป จะได้ไม่เสียแรงงาน เวลาและเงินทองมากเกินไป
ขั้นที่ 7 ขั้น การวัดผลและประเมินผล เมื่อทำการทดลองแล้วก็นำเอาเครื่องมือวัดผลที่สร้างไว้ในขั้นที่ 3 มาวัดผลเพื่อนำผลไปประเมินดูว่า ปฏิบัติงานสำเร็จตามเป้าหมายเพียงใดยังมีสิ่งใดขาดตกบกพร่อง จะได้นำไปปรับปรุงแก้ไข

ขั้นที่ 8 ขั้นการปรับปรุงและขยายการปฏิบัติงาน จากการวัดผลและประเมินผลในขั้นที่ 7 ก็จะทำให้เราทราบว่า การดำเนินงานตามวิธีการที่แล้วมานั้นได้ผลตามวัตถุประสงค์ หรือไม่ เพียงใด จะได้นำมาแก้ไข ปรับปรุงจนกว่าจะได้ผลดีจึงจะขยายการปฏิบัติ หรือยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไปลักษณะของระบบที่ดี


ระบบที่ดีต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ( efficiency) และมีความยั่งยืน (sustainable) ต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ( interact with environment )

ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบ ๆตัว ของระบบ โลกรอบๆ ตัว เรียกว่า "สิ่งแวดล้อม" การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็น ระบบเปิด ( Open system ) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs ) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต ( output )แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกที่หนึ่ง มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ ( purpose)ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่นระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่างชัดเจนว่า "เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ได้ให้ดีที่สุด"จุดหม่งุหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบดังกล่าวขึ้นมาเอง มีการรักษาสภาพตนเอง (self-regulation)ลักษณะที่สามของระบบ คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวเองให้อยู่ในลักษณะที่คงที่อยู่เสมอการรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและเอาท์พุดกันระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆของระบบหรือระบบย่อย ตัวอย่าง ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ หรือระบบย่อยต่างๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอก อาหาร กระเพาะอาหาร ฯลฯ มีการแก้ไขตนเอง ( self-correction )


ลักษณะที่ดีของระบบ ลักษณะที่ดีของระบบคือ มีการแก้ไขและปรับตัวเองในการที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม บางครั้งปฏิสัมพันธ์นั้นก็จะทำให้ระบบการรักษาสภาพตัวเองต้องย่ำแย่ไป ระบบก็ต้องมีการแก้ไขและปรับตัวเอง เสียใหม่ ตัวอย่างเช่น การปฏิสัมพันธ์ระหว่างร่างกายกับอากาศหนาว

วิธีระบบที่นำมาใช้ในการสอนประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. การประเมินความจำเป็น 2. การเลือกทางแก้ปัญหา 3. การตั้งจุดมุ่งหมายทางการสอน 4. การวิเคราะห์งานและเนื้อหาที่จำเป็นต่อผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมาย 5. การเลือกยุทธศาสตร์การสอน 6. การลำดับขั้นตอนของการสอน 7. การเลือกสื่อ 8. การจัดหรือกำหนดแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น 9. การทดสอบ และ/หรือ ประเมินค่าประสิทธิภาพของแหล่งทรัพยากรเหล่านั้น 10. การปรับปรุงแก้ไขแหล่งทรัพยากรจนกว่าจะเกิดประสิทธิภาพ 11. การเดินตามวัฏจักรของกระบวนการทั้งหมดซ้ำอีก


ระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอน ก็คือ การจัดองค์ประกอบของการเรียนการสอนให้มีความสัมพันธ์กันเพื่อสะดวกต่อการนำไปสู่จุดหมายปลายทางของการเรียนการสอนที่ได้กำหนดไว้


องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน ระบบการเรียนการสอนประกอบด้วยส่วนย่อยๆ ต่าง ๆ ซึ่งมีความเกี่ยวพันกันและกัน ส่วนที่สำคัญ คือ กระบวนการเรียนการสอน ผู้สอนและผู้เรียน ยูเนสโก ( UNESCO ) ได้เสนอรูปแบบขององค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนไว้ โดยมีองค์ประกอบ 6 ส่วน ดังนี้ 1. องค์ประกอบของการสอนจะประกอบด้วย ผู้สอน ผู้เรียน สื่อ การเรียนการสอน วิธีสอนซึ่งทำงานประสานสัมพันธ์กัน อันจะเป็นพาหะหรือแนวทางผสมกลมกลืนกับเนื้อหาวิชา 2. กิจกรรมการเรียนการสอน จะต้องมีสื่อการเรียนการสอนและแหล่งที่มาของสื่อการเรียนการสอนเหล่านั้น 3. ผู้สอนต้องหาแนวทางแนะนำช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีที่สุด 4. การเสริมกำลังใจ การจูงใจแก่ผู้เรียน นับว่ามีอิทธิพลต่อการที่จะเสริมสร้างความสนใจให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ 5. การประเมินผล ผลที่ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการประเมินทั้งระบบ เพื่อดูว่าผลที่ได้นั้นเป็นอย่างไร เป็นการนำข้อมูล ข้อเท็จจริงมาเปรียบเทียบกับประสิทธิผลของระบบ เพื่อการแก้ไขปรับปรุงต่อไป 6. ผลที่ได้รับทั้งประเมิน เพื่อประเมินผลในการปรับปรุงและเปรียบเทียบกับการลงทุนในทางการศึกษาว่า เป็นอย่างไร นอกจากนี้ บุญชม ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ และผลิต ดังภาพ


ตัวป้อน ( Input ) หรือ ปัจจัยนำเข้าระบบ คือ ส่วนประกอบต่างๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก ผู้สอน หรือครู เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้ ความสามารถความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง ความตั้งใจในการสอน ฯลฯ
ผู้เรียน เประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอนซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ เช่น ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียนทักษะในการเรียนรู้ ฯลฯหลักสูตร หลักสูตรเป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักสูตร ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ - วัตถุประสงค์การเรียนรู้ - เนื้อหาสาระที่เรียน - กิจกรรมการเรียนการสอน (รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน) - การประเมินผลสิ่งอำนวยความสะดวก อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น ห้องเรียน สถานที่เรียน ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ แสงสว่าง ฯลฯ


กระบวนการ ( Process ) ในระบบการเรียนการสอนก็คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ ในการดำเนินการสอนอาจมีกิจกรรมต่างๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐานการสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆและอาจใช้กิจกรรมเสริมการตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆ

การสร้างความพร้อมในการเรียน เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อยๆ อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้นจึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถามใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้นักเรียนฟัง ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที และทำทุกครั้งที่สอน เมื่อพบว่าผู้เรียนยังไม่พร้อม

การใช้เทคนิคการสอนต่างๆ ควรทำการสอนโดยใช้เทคนิค วิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ หลาย ๆวิธีการใช้กิจกรรมเสริม วิธีสอนแต่ละวิธีหรือรูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมต่าง ๆ ที่จะเสริมกับวิธีสอน เช่น การให้ทำแบบฝึกหัด การให้การเสริมแรง การใช้คำถามชนิดต่าง ๆ การทบทวนสรุป เป็นต้น

ผลผลิต( Output ) ผลผลิต คือ ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีหลายด้านดังต่อไปนี้ -พุทธิพิสัย ( Cognitive ) -จิตพิสัย ( Affective ) -ทักษะพิสัย ( Psychomotor )

การติดตามผล ประเมินผล และปรับปรุง เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆทั้งหมดในระบบ โดยพิจารณาผลผลิตว่าได้ผลเป็นไปดังที่มุ่งหวังไว้หรือไม่มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข ปรับปรุงบ้าง


http://senarak.tripod.com/system.htm

หน่วยการเรียนที่ 5 เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายการเรียนรู้

นิยามเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำว่าเทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ การศึกษาพัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ก็เพื่อให้เข้าใจธรรมชาติ กฎเกณฑ์ของสิ่งต่าง ๆ และหาทางนำมาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีจึงเป็นค้าที่มีความหมายกว้างไกล เป็นคำที่เราได้พบเห็นและได้ยินอยู่ตลอดมา
ลองนึกดูว่าทรายที่เราเห็นอยู่บนพื้นดิน ตามชายหาด ชายทะเลเป็นสารประกอบของซิลิกอน ทรายเหล่านั้นมีราคาต่ำและเรามองข้ามไป ครั้งมีบางคนที่เรียนรู้วิธีการแยกสกัดเอาสารซิลิกอนให้บริสุทธิ์ และเจือสารบางอย่างให้เกิดเป็นสิ่งที่เรียกว่าสารกึ่งตัวนำ นำมาผลิตเป็นทรานซิสเตอร์ และไอซี (Integrated Circuit : IC) ไอซีนี้เป็นอุปกรณ์ที่รวมวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากไว้ด้วยกัน ใช้เป็นชิพซึ่งเป็นส่วนสำคัญของคอมพิวเตอร์ สารซิลิกอนดังกล่าวเมื่อผ่านกรรมวิธีทางเทคโนโลยีแล้วจะมีราคาสูงสามารถนำมาขายได้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเป็นหัวใจของการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพราะเรานำเอาวัตถุดิบมาผ่านเทคนิคการดำเนินการ จะได้วัตถุสำเร็จรูป สินค้าเหล่านี้จะมีมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบนั้นมาก ประเทศใดมีเทคโนโลยีมากมักจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เทคโนโลยีจึงเป็นหาทางที่จะช่วยในการพัฒนาให้สินค้าและบริการมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ทุกประเทศจึงให้ความสำคัญของการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาช่วยงานด้านต่าง ๆ

สารสนเทศ หมายถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมองเป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลรอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ

ภายในสมองมนุษย์ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลไว้มากมายจะมูลจะมีข้อจำกัดในการจัดเก็บ การเรียกใช้ การประมวลผล และการคิดคำนวณ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามสร้างเครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการสารสนเทศ เช่นเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำได้มาก สามารถให้ข้อมูลได้แม่นยำและถูกต้องเมื่อมีการเรียกค้นหา ทำงานได้ตลอดวันไม่เหน็ดเหนื่อย และยังส่งข้อมูลไปได้ไกลและรวดเร็วมาก เครื่องจักรอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสารสนเทศนั้นมีมากมายตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รอบข้าง ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ ทำให้เกิดงานบริการที่อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น การฝากถอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็ม (Automatic Teller Machine : ATM) การจองตั๋วดูภาพยนตร์ การลงทะเบียนเรียนในโรงเรียน

เมื่อรวมคำว่าเทคโนโลยีกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน จึงหมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เทคโนโลยีสารสนเทศจะรวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้ และการดูแลข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักเรียนจะได้พบกับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศอยู่มาก ดังนี้
การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีผู้สอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง (bar code) พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกันการใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวมwbr>wb

การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่น แผ่นบันทึก แผ่นซีดี หรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมูลที่จัดเก็บนั้น

การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็น รูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น

การทำสำเนา เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การทำสำเนาจะทำได้ง่าย และทำได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เรามีเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จานบันทึก ซีดีรอม ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นวิธีการที่จะส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง หรือกระจายออกไปยังปลายทางครั้งละมาก ๆ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท ตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์ เส้นใยนำแสง เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุไมโครเวฟ ดาวเทียม เป็นต้น


ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้
เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศเปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามข้อมูลผลสอบจากที่บ้านได้
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้
เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น


ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศ การกำเนิดของคอมพิวเตอร์เมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีที่แล้ว เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่ยุคสารสนเทศ ในช่วงแรกมีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องคำนวณ แต่ต่อมาได้มีความพยายามพัฒนาให้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับการจัดการข้อมูล เมื่อเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ได้ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กลง แต่ประสิทธิภาพสูงขึ้น สภาพการใช้งานจึงใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมจึงมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศโดยรวมกล่าวได้ดังนี้

การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกขึ้น มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควมคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน เป็นต้น
เสริมสร้างความเท่าเทียมในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดการกระจายไปทั่วทุกหนแห่ง แม้แต่ถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอการการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้ในปัจจุบันมีความพยายามที่ใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร


สารสนเทศกับการเรียนการสอนในโรงเรียน การเรียนการสอนในโรงเรียนมีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้ เช่น วีดิทัศน์ เครื่องฉายภาพ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในโรงเรียนมากขึ้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกับสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวมรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วย ที่เรียกว่าโทรมาตร เป็นต้น


เทคโนโลยีสารสนเทศกับการป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และระบบควบคุม มีการใช้ระบบป้องกันภัย ระบบเฝ้าระวังที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงาน
การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชยกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตให้ได้มาก ราคาถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้า เพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น


เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน บทบาทเหล่านี้มีแนวโน้มที่สำคัญมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุนี้เยาวชนคนรุ่นใหม่จึงควรเรียนรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อจะได้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศให้ก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อประเทศต่อไป

http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/it/index.html

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยพื้นฐานของเทคโนโลยีย่อมมีประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าได้ แต่เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิถีความเป็นอยู่ของสังคมสมัยใหม่อยู่มาก ลักษณะเด่นที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศมีดังนี้

เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในการประกอบการทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีในการเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารเข้ามาช่วยทำให้เกิดระบบอัตโนมัติ เราสามารถฝากถอนเงินสดผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้ตลอดเวลา ธนาคารสามารถให้บริการได้ดีขึ้น ทำให้การบริการโดยรวมมีประสิทธิภาพ ในระบบการจัดการทุกแห่งต้องใช้ข้อมูลเพื่อการดำเนินการและการตัดสินใจ ระบบธุรกิจจึงใช้เครื่องมือเหล่านี้ช่วยในการทำงาน เช่น ใช้ในระบบจัดเก็บเงินสด จองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น เทคโนโลยีสารสนเทศ เปลี่ยนรูปแบบการบริการเป็นแบบกระจาย เมื่อมีการพัฒนาระบบข้อมูล และการใช้ข้อมูลได้ดี การบริการต่าง ๆ จึงเน้นรูปแบบการบริการแบบกระจาย ผู้ใช้สามารถสั่งซื้อสินค้าจากที่บ้าน สามารถสอบถามข้อมูลผ่านทางโทรศัพท์ นิสิตนักศึกษาบางมหาวิทยาลัยสามารถใช้คอมพิวเตอร์สอบถามผลสอบจากที่บ้านได้

เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นสิ่งที่จำเป็น สำหรับการดำเนินการในหน่วยงานต่าง ๆ ปัจจุบันทุกหน่วยงานต่างพัฒนาระบบรวบรวมจัดเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในองค์การประเทศไทยมีระบบทะเบียนราษฎร์ที่จัดทำด้วยระบบ ระบบเวชระเบียนในโรงพยาบาล ระบบการจัดเก็บข้อมูลภาษี ในองค์การทุกระดับเห็นความสำคัญที่จะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้

เทคโนโลยีสารสนเทศ เกี่ยวข้องกับคนทุกระดับ พัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี ดังจะเห็นได้จาก การพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การใช้ตารางคำนวณ และใช้อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมแบบต่าง ๆ เป็นต้น

http://www.obec.go.th/news/_develop_media/multi/secondary/techno/tech_it/sec03p01.html

เครือข่ายการเรียนรู้ อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวคิดและกระบวนการในการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล ชุมชน ตลอดจนองค์กร ให้เกื้อกูลและเชื่อโยงกันที่ช่วยแลกเปลี่ยนความรู้ เครือข่ายการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการหรือกลไกที่ก่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ อเนก นาคะบุตร (2536 : 45 – 46) เสนอไว้ว่าลักษณะหรือรูปแบบของเครือข่ายการเรียนรู้ไม่มีกฎเกณฑ์หรือหลักเกณฑ์ตายตัว ประชาชนต้องเรียนรู้จากกันและกัน จากความรู้ที่ได้จากที่อื่น แล้วขยายความรู้ให้ผู้อื่นทราบด้วย เป็นการช่วยให้เกิดการศึกษาที่หลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของบุคคลวิชัย ตันศิริ (2536 : 13 – 14) ได้แสดงทัศนะที่สอดคล้องกันว่า หัวใจสำคัญของเครือข่ายการเรียนรู้อย่างหนึ่งคือการถ่ายทอดแลกเปลี่ยน และกระจายความรู้ ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับชุมชน และความรู้ดั้งเดิมที่สืบทอดกันมาภายในชุมชน ในแต่ละชุมชนมักมีความรู้ที่มีการสะสมและสืบทอดกันมา ซึ่งมักเป็นความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิถีการดำเนินชีวิตของชุมชนนั้น ๆ และเป็นความรู้ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของสภาพที่เป็นจริงของชุมชน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2536 : 4 – 5) ให้แนวคิดอีกว่า ในวิถีการดำรงชีวิตของมนุษย์มีกระบวนการเรียนรู้เกิดขึ้นตลอดเวลา โดยเรียนรู้จากประสบการณ์ สิ่งแวดล้อม และบุคคลรอบข้างขณะเดียวกันก็ได้มีการจัดระบบการเรียนรู้ และการถ่ายทอดให้สมาชิกในสังคมด้วยวิธีการต่างกัน ในอดีตที่ผ่านมาชุมชนได้ทำหน้าที่นี้ ทำให้สมาชิกของชุมชนมีความรู้ประกอบอาชีพได้ สามารถสืบทอดวัฒนธรรมและค่านิยมได้อย่างต่อเนื่อง

http://www.thai-folksy.com/FolkDat/S-kotai/Ancient-Gold/02-Liturature.htm

คำว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น เช่น ทรายหรือซิลิกอน เป็นสารแร่ที่พบเห็นทั่วไปตามชายหาด หากนำมาสกัดด้วยเทคโนโลยีและใช้เทคนิควิธีการสร้างเป็นชิป (chip) สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จะทำให้สารแร่ซิลิกอนนั้นมีคุณค่า และมูลค่าเพิ่มขึ้นได้อีกมาก

สำหรับสารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับความจริงของคน สัตว์ สิ่งของ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หากมีการจัดเก็บรวบรวม เรียกค้น และสื่อสารระหว่างกัน นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ สารสนเทศมีความหมายที่กว้างไกล ซึ่งนักเรียนจะได้เรียนเพิ่มเติมต่อไป

เทคโนโลยีสารสนเทศ (Infornation Technology : IT) หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างข้อมูลเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่างๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการสารสนเทศ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอนวิธีการดำเนินการซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด

เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเทคโนโลยีที่ครอบคลุมเรื่องเกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูล ซึ่งได้แก่การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การติดต่อสื่อสารระหว่างกันด้วยความรวดเร็วการจัดการข้อมูล รวมถึงวิธีการที่จะใช้ข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดที่มา

http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/IT/techno.html

Generate Your Own Glitter Graphics @ GlitterYourWay.com - Image hosted by ImageShack.us

เกี่ยวกับฉัน

เมื่อนานมาแล้ว ... มีต้นหญ้ากับนาฬิกาเรือนหนึ่ง เค้าทั้งสองเป็นเพื่อนกัน.... ทุกวันเวลาที่ผ่านไป นาฬิกาไม่เคยคิดถึงอะไรในข้างหน้าเลย เพราะตัวเค้าเป็นผู้ทำให้กาลเวลาแปรผันไป เวลาที่ผ่านไป........ จากวันเป็นเดือน.. จากเดือนเป็นปี.. "ความชรา" ได้เข้าครอบครองต้นหญ้า ในที่สุด.. นาฬิกาผู้คุมเวลาอยากจะหยุดเวลาตรงนั้นลง เค้าอยากจะย้อนเวลากลับไป... เพื่อจะได้อยู่ด้วยกัน.. แต่มันไม่ได้มีทางเป็นไปได้... ทุกสรรพสิ่งไม่ได้อยู่นิ่ง..

ลมหายใจ

ลมหายใจ
ครอบครัวอบอุ่น

*0* ------*0*------*0*

คำว่า ครอบครัว เป็นคำที่มีความหมายมาก คือหมายถึงความรัก ควาอบอุ่น ความเป็นอันเดียวกัน สมัยลูกเป็นเด็ก ๆ เราอยู่รวมกัน
เป็นครอบครัว มีเสียงหัวเราะสนุกสนาน มีเสียงวิ่งเล่นวิ่งไล่กัน ได้ทานอาหารร่วมกัน ได้ทำอะไรด้วยกัน ดูมันมีชีวิตชีวา แม้พ่อกับแม่
จะทำงานเหน็ดเหนื่อยกันมา พอเห็นหน้าลูก ๆ มาคอยต้อนรับที่หน้าประตู ถามว่าเหนื่อยไหมแล้วช่วยถือกระเป๋าถือของให้ เท่านี้ก็หาย
เหนื่อยแล้ว เห็นลูกกินได้ นอนหลับ พ่อกับแม่ก็สบายใจ ที่แหละลูกเอ๋ยที่เขาว่าครอบครัวที่อบอุ่น ตอนนี้ลูกก็โตกันแล้ว หากสามารถ
เสกเป่าได้ พ่อกับแม่ก็อยากจะเสกเป่าให้ครอบครัวเราเป็นครอบครัวที่อบอุ่น พร้อมหน้าพร้อมตากันเหมือนตอนเป็นเด็ก แม้จะนาน ๆ ครั้งก็ยังดี เห็นหน้าเห็นตากัน ทานข้าวด้วยกัน ถามไถ่สุขของกันและกัน ได้อุ้มหลานตัวน้อย ๆ เท่านี้ก็ยืดอายุให้พ่อแม่ได้อีกหลายปีแล้วลูกเอ๋ย

http://malinee.wordpress.com/feed/






Cute Backgrounds From Cherrybam.com
Falling Images, MySpace Codes, MySpace Layouts, MySpace Glitter Graphics from DressUpMySpace.com
Cursors from DressUpMyspace.com